เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

รายละเอียดบทความ ประกอบด้วย

1. ชื่อบทความ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) ที่อยู่ของหน่วยงานหรือสถาบันที่ผู้แต่งบทความสังกัด และคำสำคัญ (Keywords) ไม่เกิน 5 คำ

2. บทคัดย่อ (Abstract) ของบทความเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้าขนาดกระดาษ A4

3. ขนาดความยาวของเนื้อหาบทความรวมภาคผนวกและส่วนอ้างอิงของบทความวิจัย (Research article) บทความปริทัศน์ (Review article) ระหว่าง 15 - 20 หน้า บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) ความยาวระหว่าง 7 - 10 หน้า ขนาดกระดาษ A4 พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun New ขนาดตัวอักษร 16 ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 บรรทัด

4. หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์

5. ต้นฉบับที่มีตาราง ต้องระบุชื่อตาราง คำอธิบายและที่มาด้วย สำหรับต้นฉบับที่มีภาพประกอบของผู้เขียนหรือได้รับสิทธิ์ตามกฎหมายให้ตีพิมพ์ได้ โปรดส่งไฟล์ภาพแยกต่างหากจากต้นฉบับ โดยให้แนบเป็นไฟล์นามสกุล .jpg หรือ .gif หรือ .png เป็นต้น โดยมีความละเอียดอย่างน้อย 150 dpi เพื่อความคมชัดในการตีพิมพ์

6. ส่งต้นฉบับโดยการกรอกแบบเสนอบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารและบทความได้ทางระบบฐานข้อมูลวารสารไทย https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PSPAJ-KKU

7. ในกรณีที่ผู้เขียนต้องการถอนบทความในการลงตีพิมพ์ ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กองบรรณาธิการทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาบทความ

การอ้างอิงเนื้อหา

วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี (Author-date citation system) ดังนี้

ตัวอย่าง:

(ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2558, น. 20 - 25)

(Rawls, 1971, pp. 30 - 33)

(วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ, 2558, น. 40 - 50)

(Bingham, et al., 2005, pp. 160 - 166)

(ประหยัด หงษ์ทองคำ และ พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (บรรณาธิการ), 2529, น. 14)

(Menzel & White (Eds.), 2011, p. 50)

(นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2538, น. 50 อ้างถึงใน อานันท์ กาญจนพันธุ์, 2544, น. 12)

(Ostrom, 2008, p. 81 as cited in Knott, 2011, p. 592)

เอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม

วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้วิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (Reference) ตามรูปแบบ APA 6th edition โดยมีตัวอย่างรายการอ้างอิงประเภทต่าง ๆ ดังนี้

ตัวอย่าง:

หนังสือ

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2558). สุนทรียศาสตร์กับการเมืองภาคประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Rawls, J. (1971). A Theory of Justice. Cambridge: Harvard University Press.

บทความในหนังสือ

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์. (2544). ความเหมาะสมในการจัดโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นไทย. ใน นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, สมคิด เลิศไพฑูรย์, และ จิรวรรณ เดชานิพนธ์ และ ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ (บรรณาธิการ), นรนิติ เศรษฐบุตร: 60 ปี กีรตยาจารย์ (น. 105 - 130). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Sunhyuk, K. (2015). Civil Society and Local Democracy. In Nurmandi, A., Roengtam, S., Purnomo, E. P. & Tamronglak, A. (Eds.), Citizen Participation in Selected Local Governance of Asia Pacific Countries (pp. 129 - 148). Yogyakarta: JK School of Government. 

บทความในวารสาร

ภูริ ฟูวงศ์เจริญ. (2558). “สภาวะเส้นทางบังคับ” (Path dependence): รัฐศาสตร์บนฐานประวัติศาสตร์. รัฐศาสตร์สาร, 36(3), น. 92 - 127.

Buick, F., Blackman, D., O’Flynn, J., O'Donnell, M. & West, D. (2016). Effective Practitioner-Scholar Relationships: Lessons from a Coproduction Partnership. Public Administration Review, 76(1), pp. 35 - 47.

หนังสือแปล

มอริช แครนสตัน. (1968). ปรัชญาการเมือง (ส. ศิวลักษณ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เท็กซ์.

หนังสือพิมพ์

ไตรรัตน์ สุนทรประภัสสร. (8 พฤศจิกายน 2540). อนาคตจีน-อเมริกา. เดลินิวส์, น. 6.

Jikkham, P. & Thip-Osod, M. (2015, March 20). Land Grab Fears Thwart Timber plan. Bangkok Post, p. 1.

เว็บไซต์

อดีตสะท้อนปัจจุบัน จาก กมธ.ร่าง รธน. ที่ชื่อ ‘ป๋วย’ สู่บทเรียนของ ‘กรธ.’ ยุค ‘คสช.’. (20 มกราคม 2559). มติชนออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.matichon.co.th/news/77233

Republican Leaders Map a Strategy to Derail Donald Trump. (2016, March 21). The New York Times. Retrieved from http://www.nytimes.com/2016/03/20/us/politics/donald-trump-republican-party.html?ref=politics&_r=0 

วิทยานิพนธ์

สราวุธ ทับทอง. (2557). รัฐไทยกับการใช้อำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉิน: ศึกษากรณีการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในช่วง พ.ศ. 2552 - 2553. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์.

Parks, M. T. (2002). Self-Evident No More: American Political Thought 1820 - 1850. (Doctoral Dissertation). Boston University, Department of Political Science.