ผลกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม จากการใช้อำนาจออกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามมาตรา 44
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นบทความวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในยุครัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่มีผลกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม โดยทำการศึกษาเนื้อหาสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองในสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีเพื่อนำมาเป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบและวิเคราะห์หาผลกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้อำนาจออกคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดย ผลการศึกษาพบว่าการใช้อำนาจออกกฎหมายในรูปแบบคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อเอื้อให้การดำเนินนโยบายปฏิรูปประเทศของรัฐบาลสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น โดยที่คำสั่งเหล่านี้ไม่สอดคล้องต่อสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี ได้แก่ (1) กลุ่มคำสั่งที่มีแนวโน้มละเมิดสิทธิในสิ่งแวดล้อม ที่ดี (2) กลุ่มคำสั่งที่ละเมิดสิทธิการมีส่วนของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม และ (3) กลุ่มคำสั่งที่ละเมิดสิทธิชุมชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ในการที่จะคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชนให้บรรลุผล รัฐจึงควรพิจารณารับรองสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และส่งเสริมสนับสนุนสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชนที่จะมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในกระบวนการกำหนดนโยบายและออกกฎหมาย ตลอดจนควรมีการทบทวนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่อาศัยอานาจตามมาตรา 44 ซึ่งเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชนในวงกว้างให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
Article Details
References
2. กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2550). สิทธิของบุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
3. เขตไท ลังการ์พินธุ์. (2560). สิทธิในสิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญของประเทศไทยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ. วารสารนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(1), น. 49 - 58.
4. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2556). รายงานการวิจัย เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
5. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2557). รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจาปี พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
6. _____________________________. (2558ก). รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจาปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
7. _____________________________. (2558ข). รายงานการวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชน และผลกระทบจากโครงการพัฒนาภาคใต้. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
8. _____________________________. (2559). รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
9. คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
10. ฐิติกรณ์ สังแก้ว และคณะ. (2559). จุด (ไม่) จบ ช่วงฉากการเมืองไทย ‘48 - ‘59. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
11. นิตยา โพธิ์นอก. (2557). ชุมชนกับสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.
12. ปวริศร เลิศธรรมเทวี และคณะ. (2558). รัฐธรรมนูญกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
13. ประภัสสร ปานป้อมเพชร. (2559). การคุ้มครองสิทธิเชิงกระบวนการในการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอนการตัดสินใจของรัฐในการดำเนินโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะนิติศาสตร์.
14. ปาริชาติ สังขทิพย์. (2546). ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อชุมชนแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
15. พงษ์สวัสดิ์ อักษรสวาสดิ์. (2552). สิทธิการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ. ใน สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า (บรรณาธิการ), เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 10 ประจาปี 2551 การเมืองและวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : ส. เจริญ การพิมพ์.
16. วีระ โลจายะ. (2531). กฎหมายสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
17. วิชัย ศรีรัตน์ และคณะ. (2555). ศัพท์สิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
18. สถาบันนโยบายศึกษา. (2539). รายงานการวิจัย เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา.
19. สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2548). ช่วยชาติ ช่วยโลก ด้วยการบริโภคที่ยั่งยืน: การสัมมนาประจำปี 2548. นนทบุรี: สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.
20. สมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยง และ วรากร น้อยพันธ์. (2552). ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม มาบตาพุด. กรุงเทพฯ : สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.
21. สุธิดา อินทร์ดี. (2526). การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการอาคารชุดสำหรับพักอาศัยที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะนิติศาสตร์.
22. สานักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (2549). สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์.
23. เสถียร เหลืองอร่าม. (2527). รายงานการวิจัย เรื่อง บทบาทของโครงการสร้างงานในชนบท ที่มีผลกระทบต่อทางด้านเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
24. โสภารัตน์ จารุสมบัติ. (2551). นโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : โครงการตeราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
25. อนันต์ เกตุวงศ์. (2532). รายงานการวิจัย เรื่อง ผลกระทบของการพัฒนา. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
26. อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2558). รัฐ สังคม และการเปลี่ยนแปลงการพิจารณาในเชิงอานาจ นโยบาย และเครือข่ายความสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์.
27. อรทัย ก๊กผล. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิปริญญาโทนักบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
28. อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2553). รัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม. วารสารนักบริหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 30(3), น. 87 - 95.
29. อำนวย วงษ์พานิช. (2549). การศึกษาผลกระทบทางสังคม อันเนื่องมาจากโครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่มีผลต่อประชาชนตามแนววางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ : กรณีศึกษาในพื้นที่ อำเภอพานทองและอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
30. May, J. R. & Daly, E. (2009). Vindicating Fundamental Environmental Rights: Judicial Acceptance of Constitutionally Entrenched Environmental Rights. Oregon Review of International Law, 11(1), pp. 365 - 442.
31. United Nations Development Programme. (2014). Environmental Justice - Comparative Experiences in Legal Empowerment. New York: United Nations Development Programme.