การจัดการการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษา ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

ภูวง อภัย
สมนึก ปัญญาสิงห์
สุขุมวิทย์ ไสยโสภณ
อาวุธ รื่นภาคพจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการจัดการการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษา ในเขตนครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ศึกษาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-7 ในนครหลวงเวียงจันทน์ 8 แห่ง  ปีการศึกษา 2559 ในเดือนมีนาคม 2560  เกี่ยวกับสภาพการณ์การใช้สื่อสังคมออนไลน์และแนวทางในการจัดการการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียน ประชากรทั้งหมด 6,312 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง 377 คน  กลุ่มข้อมูลสำคัญ คือผู้บริหารการศึกษา 25 คน ครู-อาจารย์ 36 คน ผู้ปกครอง 12 คน นักเรียน 36 คน วิธีวิจัยในเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามและเชิงคุณภาพด้วยการประชุมระดมสมอง พบว่ามีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อค้นหาข้อมูล เรียนรู้ ความบันเทิง ติดต่อเพื่อน และขายสินค้า โดยใช้กับเพื่อนและความบันเทิงมากที่สุด รองลงมาคือแลกเปลี่ยนความรู้ ทำการบ้าน ขายและติดตามข่าวสินค้าตามลำดับ ในการจัดการควรมีนโยบายควบคุมและป้องกันการใช้สื่อออนไลน์ที่ส่งผลกระทบทางลบต่อชีวิตประจำวัน สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม ควรจัดสัมมนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวแทนครู-อาจารย์ สนับสนุนนโยบายการใช้สื่อสังคมออนไลน์ด้านการศึกษา ในระดับแขวง ควรนำนโยบายมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม โดยประสานกันระหว่างหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ในระดับพื้นที่ให้มีมาตรการเฝ้าระวัง  ในระดับเมืองควรประเมินการปฏิบัติตามนโยบายการใช้สื่อสังคมออนไลน์ด้านสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของเยาวชน โรงเรียนควรสร้างมาตรการด้านความรับผิดชอบ วินัยและส่งเสริมการใช้สื่อสังคมเพื่อการศึกษา จัดอบรมและเสนอแนะครูประจำชั้นสำหรับนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้สื่อในทางที่ผิด ด้านผู้ปกครองควรแนะนำบุตรหลานให้รู้เท่าทันการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในทางที่ผิด จัดประชุมโรงเรียนและผู้ปกครอง  จัดให้มีห้องปรึกษาส่วนตัว รวมทั้งอบรมประโยชน์และโทษของสื่อสังคมออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐกานต์ ปันแก้ว. (2547). สภาพปัจจุบัน ปัญหาและการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา. ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ขนิษฐา จิตแสง. (2556). พฤติกรรมและรูปแบบการใช้บริการบนสื่ออินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดขอนแก่น. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 30 (2), หน้า 217-242.

ณัฐพร จันทร์หอม. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) กรณีศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์ : สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร, 31(4), หน้า 99-

มูฮัมมะอัสรี มูฮัมหมัดฮูเซ็น. (2557). ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2560. จาก https://sites.google.com/site/socialnetworkappfbigline/45.

เสาวคนธ์ คงสุข. (2544). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต.กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์เอมพันธ์.

อรรณพ เธียรถาวร.(2540). กฎหมายไทยก้าวไปทันไหมกับอินเทอร์เน็ตในโลกของสื่อ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Khanittha Jitsaeng. (2014). The relationship of Individual and group factors to internet literacy skills of youth in Khon Kaen University Municipality. Information, 21(1), pp. 46-60.