แนวทางการลดความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิการถือครองที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางลดความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิการถือครองที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยเริ่มจากอธิบายแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการกระจายสิทธิการถือครองที่ดินเพื่อนำไปสู่การค้นหาความเหลื่อมล้ำที่ถูกตีกรอบไปในทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และด้วยการร่างกฎหมายเฉพาะพื้นที่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นจึงหยิบยกข้อถกเถียงมาวิเคราะห์เพื่อสร้างความชัดเจน พร้อมทั้งได้กำหนดแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำออกเป็น 1) เข้าใจรากเหง้าของความเหลื่อมล้ำด้วยตนเอง โดยประชาชนจะต้องรู้จักตนเอง รู้จักรวมกลุ่ม และรู้จักสถานการณ์ และ 2) ขยายความเป็นชุมชน เพิ่มการกระจายด้วยกลไกรัฐ โดยรัฐจะต้องกระตุ้นให้ชุมชนเกิดการตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ร่วมกับการเพิ่มเงื่อนไขการถือครองที่ดิน เพิ่มโอกาสการเช่าที่ดิน และเพิ่มช่องทางการแลกเปลี่ยนทรัพยากร โดยกระบวนการทั้งหมดนี้จะเป็นไปในทิศทางที่สอดรับกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Article Details
References
มาลินี คงรื่น. (2558). ปัญหาการถือครองที่ดินของชาวต่างชาติในไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562. จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=32421
ราณี หัสสรังสี, ณัฐกา สงวนวงษ์, สุภาพรรณ พลังศักดิ์, และดวงพร ลภัสบุญโชค. (2559). รายงานสังคมไทย 2559 สังคมสังเกต สังเกตสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีรวัฒน์ อริยะวิริยานันท์, พุทธกาล รัชธร และดิลก วิทยรัตน์. (2552). วิวัฒนาการของการปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการออกกฎหมายปฏิรูปที่ดิน (พ.ศ. 2475-พ.ศ. 2518). ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีรวิท คงศักดิ์. (2560). ระเบิดจากข้างใน. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562. จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/article/wiirwith_raebidcchaakkhaangain.pdf
ศูนย์บริหารข้อมูลตลาดแรงงานภาคตะวันออก. (2561). ข้อมูลพื้นฐานด้านแรงงานภาคตะวันออก ปี 2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562. จาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmi-east_th/7edc240be19b0e93e3aaf329eeacb971.pdf
สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2558). วาระปฏิรูปที่ 11: ปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดิน. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย. (2561). EEC ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก เมกะโปเจคท์ ที่ดึงดูดนักลงทุน. วารสารผู้ลงทุนไทย, 6(31), 1-17.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). ประมวลคำถามคำตอบระหว่างวันที่ 9-16 กุมภาพันธ์ 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562. จาก https://www.eeco.or.th/sites/default/files/
_____________________________________________________________. (2561). แผนการใช้ประโยชน์ในที่ดินในภาพรวม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก.
_____________________________________________________________. (2561). EEC เดินหน้าปั้น Aerotropolis มั่นใจให้ผลประโยชน์ครบครันทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา ชุมชนและคุณภาพชีวิต. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562. จาก https://www.eeco.or.th/en/EECAerotropolisBusinessRequirementsGathering
อติวิชญ์ แสงสุวรรณ. (2558). ความเหลื่อมล้ำ. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 1-7.
Azadi, H. & Vanhaute, E. (2019). Mutual Effects of Land Distribution and Economic Development: Evidence from Asia, Africa, and Latin America. Land 2019, 8(96), 1-15. doi:10.3390/land8060096
Bouincha, M. & Karim, M. (2018). Income Inequality and Economic Growth: An Analysis Using a Panel Data. International Journal of Economics and Finance, 10(5), 242-253.
Sharma, R. & Jha, P.K. (2018). Land Reform Experiences some Lessons From Across South Asia. The Food and Agriculture Organization of the United Nations, 1-52.
World Commission on Environment and Development (WCED). (1987). Our Common Future, p.43.