เฮเกลและแดร์ริดาว่าด้วยรัฐ จิตวิญญาณ ชุมชน และจริยศาสตร์ : ทางเลือกต่อทฤษฎีสัญญาประชาคมและบทสนทนา

Main Article Content

ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย

บทคัดย่อ

แม้ว่าทฤษฎีสัญญาประชาคมจะมีความโดดเด่นต่อการศึกษาปรัชญาการเมือง ตัวทฤษฎีดูจะละเลยคำถามต่างๆ ว่าด้วยจิตวิญญาณ ความเป็นชุมชน และจริยศาสตร์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความเมตตา) ที่เกี่ยวข้องกับการอภิปรายรัฐ  บทความชิ้นนี้พยายามสร้างข้อถกเถียงเรื่องรัฐในเชิงทางเลือกและสร้างความแตกต่างออกจากรัฐในแบบทฤษฎีสัญญาประชาคม โดยจะเป็นการนำเสนอข้อถกเถียงว่าด้วยเรื่องรัฐ จิตวิญญาณ ชุมชนและจริยศาสตร์ของนักปรัชญาตะวันตกสองท่าน คือ กิออก วิลเฮม ฟรีดิช เฮเกล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel) และ ฌาคส์ แดร์ริดา (Jacques Derrida) ข้อเสนอหลักของบทความนอกจากจะเป็นเรื่องของรัฐในเชิงทางเลือกจากรัฐในแนวทางของทฤษฎีสัญญาประชาคมแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นว่านักคิดทั้งสองท่านมีความเห็นเกี่ยวกับมิติแห่งรัฐในลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เฮเกลเชื่อว่ารัฐคือจิตวิญญาณสูงสุด การหลอมรวมเข้ากับรัฐของเหล่าปัจเจกบุคคลถือเป็นความจำเป็นและเป็นจุดสิ้นสุดแห่งประวัติศาสตร์ การกระทำที่มีความสัมบูรณ์เช่นนี้ มุ่งหมายเพื่อสถาปนาให้รัฐเกิดสภาพที่เข้มแข็ง เป็นปึกแผ่นและมีความเป็นจริยศาสตร์ ส่วนแดร์ริดามองในทางตรงกันข้ามกับข้อเสนอของเฮเกลว่ารัฐยังขาดคุณลักษณะที่จะเป็นจิตวิญญาณสูงสุด หนึ่งในข้อวิพากษ์ของแดร์ริดาเกี่ยวกับการขาดซึ่งความเป็นจิตวิญญาณสูงสุดของรัฐ ก็คือปมปัญหาเรื่องความเมตตากรุณาของรัฐ ซึ่งแดร์ริดามองว่าความเมตตากรุณาของรัฐเป็นไปแบบมีเงื่อนไข  มีความรุนแรงที่กระทำกับความแตกต่างและกระทำกับผู้อื่นเป็นองค์ประกอบ ด้วยเหตุนี้  แดร์ริดาจึงนำเสนอความเมตตากรุณาในเชิงทางเลือก หรือนั่นก็คือความเมตตากรุณาที่เป็นไปแบบปราศจากเงื่อนไข ข้อเสนอเช่นนี้ของแดร์ริดานำไปสู่การรื้อถอนรัฐในฐานะจิตวิญญาณสูงสุด ทั้งนี้เพื่อให้รัฐรองรับความเป็นอื่น ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย และผลที่สุดแล้วรัฐก็จะเกิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่พร้อมทั้งรัฐก็จะเกิดความแตกต่างภายในตัวของมันเอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Caputo, J. 1997. Deconstruction in a Nutshell: A Conversation with Jacques Derrida. New York: Fordham University Press.

Derrida, J. 2005. “As If it were Possible, ‘Within Such Limits.’’ In Paper Machine. Translated by Rachel Bowlby. Stanford and California: Stanford University Press.

Derrida, J. 2005. “The Principle of Hospitality.” In Paper Machine. Translated by Rachel Bowlby. Stanford and California: Stanford University Press.

Derrida, J. and Bernard Stiegler. 2002. Echographies of Television: Filmed Interviews. Translated by Jennifer Oxford: Polity Press.

Derrida, J. 2000. Of Hospitality. Translated by Rachel Bowlby. Stanford: Stanford University Press.

Derrida, J. 1999. Adieu to Emmanuel Levinas. Translated by P.-A. Brault and M. Nass. Stanford: Stanford University Press.

Derrida, J. 1999. “Hospitality, Justice and Responsibility: A Dialogue with Jacques Derrida.” In Questioning Ethics: Contemporary Debates in Philosophy. R. Kearney and M. Dooley. London: Routledge.

Fuh, S. 2004. “Derrida and the Problem of Ethics.” Concentric: Studies in English Literature and Linguistics. 29(1): January: 1-22.

Hegel, G. W. F. 1977. Phenomenology of Spirit. Translated by A.V. Miller. Oxford: Oxford University Press.

Kakoliris, G. 2015. “Jacques Derrida on the Ethics of Hospitality.” In The Ethics of Subjectivity: Perspectives since the Dawn of Modernity. Edited by Elvis Imafidon. London: Palgrave Macmillan.

Levinas, E. 1996. “Ethics as First Philosophy.” In The Levinas Reader. Translated by Seán Hand. Cambridge: Blackwell.

Levinas, E. 1987. Totality and Infinity. Translated by Richard Cohen. Pittsburgh: Duquesne University Press.