แนวทางการพัฒนารูปแบบนโยบายด้านการสาธารณสุขเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่นโดยเน้นกระบวนการป้องกันจากกลุ่มต้นทางในเพศชายของสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบนโยบายด้านการสาธารณสุขเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่นโดยเน้นกระบวนการป้องกันจากกลุ่มต้นทางในเพศชายผู้ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้ปกครอง ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่เลี้ยงดูวัยรุ่น กลุ่มพ่อ แม่ ที่เลี้ยงดูวัยรุ่น กลุ่มวัยรุ่นที่เคยมีเพศสัมพันธ์ทั้งหญิงและชาย รวมทั้งกลุ่มหญิงวัยรุ่นที่เคยตั้งครรภ์และวัยรุ่นชายที่ทำให้วัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์ อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านเพศศึกษา จำนวนรวม 17 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า แนวทางสำหรับวัยรุ่นเพศชายเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่น ประกอบด้วย (1) การให้ความรู้เรื่องเพศและการวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิด (2) การสนับสนุนให้นักศึกษาตระหนักถึงผลเสียหรือผลกระทบที่จะตามมา สำหรับสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย (1) การจัดอบรมให้ความรู้ด้านทักษะชีวิต (2) การกระตุ้นหรือส่งเสริมให้วัยรุ่นให้ความสาคัญหรือมีเป้าหมายชีวิตที่กว้างไปกว่าการหมกมุ่นในเรื่องเพศ เช่น ความสำเร็จในชีวิต การวิจัยมีข้อเสนอแนะให้ทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างค่านิยมที่เหมาะสมให้วัยรุ่นตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ที่ตนเองต้องทำ รวมถึงมีการส่งเสริมให้กลุ่มวัยรุ่นหญิงมีพลังในการสร้างค่านิยมในการพึ่งตนเองอันจะนำไปสู่การช่วยลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน
Article Details
References
สาขาสังคมวิทยาการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จาตุรงค์ ศรีสุธรรม. (2559). กระบวนการนโยบายสาธารณะตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ
2550. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 9(4), 67
จิราพรชมพิกุลและคณะ. ( 2552). รายงานการวิจัยสัมพันธภาพในครอบครัวไทย. สืบค้นวันที่ 29
พฤษภาคม2559 จาก http://www.aihd.mahidol.ac.th/sites/default/files/images/
new/pdf/Research_Update_2011/2009/th/Relationship_in_Thai_Families.pdf
ชนาใจ หมื่นไธสง. (2558). ความร่วมมือทางวิชาการไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2535-
2554. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
ชีรา ทองกระจาย (2559). หน่วยที่ 8 ความเท่าเทียมทางเพศสภาพ. เข้า 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 จาก
https://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci/UploadedFile/82427-8.pdf.
ไตรพัฒน์ วงศ์ประเสริฐสุข. (2549). กว่าจะมาเป็นเพศภาวะในสังคมวิทยา. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2559จาก
http://www.academic.hcu.ac.th/forum/board_posts.asp?FID=66
รักแก้วมีศิล. (2557).วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
บีบีซีไทย. (2018). นักวิทยาศาสตร์เสนอนิยามใหม่ ให้วัยรุ่นคือคนอายุ 10-24 ปี. เข้า 12 ตุลาคม พ.ศ.
2561. จาก https://www.bbc.com/thai/international-42757724
มลฤดี ลาพิมลและคณะ. (2551). วาทกรรมเรื่องเพศในหลักสูตรเพศศึกษาแนวใหม่ : มุมมองการ
ต่อรองและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเรื่องการสร้างความเข้าใจสุขภาพหญิง (สคส.)
รักแก้ว มีศิล. (2557). การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น สาเหตุและแนวทางแก้ไข กรณีศึกษาวัยรุ่นใน
เขตชนบทแห่งหนึ่งจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคมบัณฑิตวิทยาลัย), มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น .
ราชกิจจานุเบกษา. (2559). พระราชบัญญัติป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559.เข้า
12 ตุลาคม พ.ศ. 2560 จาก http://rh.anamai.moph.go.th/download/all_file/index 3.pdf
ราชกิจจานุเบกษา. (2018). กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของ
สถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๖๑. เข้า 13 ตุลาคม พ.ศ. 2561 จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/081/T_0013.PDF
ราชบัณฑิตยสถาน (2549) พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาอังกฤษ -ไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน .กรุงเทพฯ:
ราชบัณฑิตยสถาน.
สมพร รุ่งเรืองกลกิจและอิงคฏา โคตรนารา. (2556). พยาบาลกับการบูรณาการเพศภาวะในการจัดการภัย
พิบัติ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. ปีที่33ฉบับที่1มกราคม - เมษายน2556. หน้า58-59.
สำนักอนามัยการเจริญพันธ์กรมอนามัย. (2555). รายงานสถานการณ์การคลอดของกรมอนามัยพ.ศ.
2555. กรุงเทพมหานคร: กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
(Healthy Public Policy).
วิลาวัณย์ อาธิเวช และ วราทิพย์ แก่นการม (2560). ประสิทธิผลของการพัฒนาต้นทุนชีวิตต่อพฤติกรรมการ
ป้องกัน การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในมารดาวัยรุ่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3 : กรกฎาคม - กันยายน 2560
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2557). นโยบายสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อำไพ หมื่นสิทธิ์. (2017). แม่วัยรุ่นผู้กระทำการ : ฮาบิตุส ทุน และปฏิบัติการในครอบครัว. Journal of
Mekong Societies Vol.13 No.3 September-December 2017 pp. 101-127.
อำพล จินดาวัฒนะ. (2546). ปฏิรูปสุขภาพ : ปฏิรูปชีวิตและสังคม : บันทึกเสี้ยวหนึ่งของการปฏิรูประบบ
สุขภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักงาน.
BunyaritSukrat.( 2014). Thailand Adolescent Birth Rate: Trend and Related Indicators.
Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology, Vol. 22, pp. 15-21
Thailand UNFPA. (2556). แม่วัยใส ความท้าทายการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น. เข้า 6 10 2561 จาก
https://thailand.unfpa.org/sites/default/files/pub-pdf/State%20of%20Thailand%20Population%20report%202013-MotherhoodinChildhood_th.pdf
UNFPA Thailand. (2018). กระทรวงการต่างประเทศและกองทุนประชากรแห่งสหประชาติร่วมจัด
กิจกรรม TICA Connect ครั้งที่ 4 ‘The 4th TICA Connect: Five Decades of Thailand and UNFPA partnership: Advancing towards Sustainable Development Goals (SDGs)’. เข้า 7 10 2561 จาก https://thailand.unfpa.org/th/news
World Health Organization. (2013). Maternal, newborn, child and adolescent health.
Retrieved May 15, 2016, from http://www.who.in/maternal child