เรื่องเล่าแห่งความไม่เป็นประชาธิปไตย : ปมปัญหาบางประการของการจัดการ "ความทรงจำ" ในเนื้อหาของการศึกษาระดับโรงเรียน

Main Article Content

รองศาสตราจารย์ ดร. ศิวัช ศรีโภคางกุล

บทคัดย่อ

          เนื้อหาจำนวนมากที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยได้รับการสอนในระบบโรงเรียนไทยมาเป็นเวลานาน หลากหลายเนื้อหาเหล่านี้ถูกประกอบการให้กลายเป็น “ความจริง” และ “ความทรงจำร่วมของชาติ” ดังนั้น  บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและถกเถียงถึงเรื่องเล่าความทรงจำกระแสหลัก กรณี 1) การเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และการสละราชบัลลังก์ของรัชกาลที่ 7 ในช่วงเวลาต่อมา และ 2) การรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และการบริหารประเทศหลังจากนั้นของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รวมถึง 3) ประเด็นอื่น ๆ ผู้เขียนอาศัยการศึกษาในเชิงเอกสารเป็นหลัก โดยพิจารณาจากคู่มือครู หนังสือ ตำรา แผนการจัดการเรียนรู้ ใบงาน แบบฝึกหัด ข้อสอบและกิจกรรมการเรียนการสอนอื่น ๆ ตลอดจน และสื่อการสอนของครู ครอบคลุมวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชาประวัติศาสตร์ไทย วิชาหน้าที่พลเมือง เป็นต้น ที่ใช้สอนในระดับโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ข้อถกเถียงสำคัญของบทความวิจัยนี้คือ เนื้อหาจำนวนมากที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยที่ใช้สอนต่างมีปัญหาเกี่ยวข้องกับ “การจัดการความทรงจำ” โดยเฉพาะกรณีของรัชกาลที่ 7 และ ของ คสช. โดยเฉพาะการแปลงร่างให้ความไม่เป็นประชาธิปไตยได้กลายเป็นประชาธิปไตยขึ้นมา นอกจากนั้น ยังจะพบว่า เนื้อหาในแบบเรียนต่างไม่ให้ความสำคัญกับระบอบประชาธิปไตยโดยมีประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด กลับให้ความสำคัญกับบทบาทพระมหากษัตริย์เพียงเท่านั้นและมีมุมมองในแง่ไม่ไว้วางใจต่อระบอบประชาธิปไตย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระมล ทองธรรมชาติและคณะ. (2561). คู่มือครูสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ วิชาหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมชั้นมัธยมปีที่ 4-6. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

กระมล ทองธรรมชาติและคณะ. (มปป. (ก.)). คู่มือครูสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ วิชาหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมชั้นมัธยมปีที่ 3. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

กระมล ทองธรรมชาติและคณะ. (มปป. (ข.)). คู่มือครูสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ วิชาหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมชั้นมัธยมปีที่ 2. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

โครงการวัดและประเมินผล. (มปป.). แบบทดสอบวิชาประวัติศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบอิงมาตรฐาน เน้นการคิด หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

ณรงค์ พ่วงพิศ และ วุฒิชัย มูลศิลป์. (2561). คู่มือครูสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ วิชาประวัติศาสตร์ไทย ม.4-6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

ณรงค์ พ่วงพิศและคณะ. (มปป.). คู่มือครู อจท. ประวัติศาสตร์ม.3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

ณัฐพล ใจจริง. (2562). บทบาทพลเมืองสยามปราบกบฏบวรเดช ลางาน 7 วันพิทักษ์รธน. ถึงรวมกันบู๊ไล่ทหารได้. ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/history/article_40051

แถลงการณ์เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2478). พระนคร : โรงพิมพ์ศรีกรุง.

ทัศมา ประทุมวัน, อัจฉริยา บุญชัย และ ปุณยวีร์ เวชกรณ์. (2561). 'กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง' รอบล่าสุด โดนมาแล้วกี่คดี ใครโดนแล้วโดนอีก โดนอีกและโดนอีก. ประชาไท. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2018/06/77299

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2550).100 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. 2440-2540. กรุงเทพ ฯ : คบไฟ.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2540). การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์วิชาการ.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2547). ชาติไทยเมืองไทยแบบเรียนและอนุสาวรีย์ ว่าด้วยวัฒนธรรม รัฐ และรูปการจิตสำนึก. กรุงเทพ ฯ: งานดี.

บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด. (มปป.). แผนการจัดการเรียนการสอน วิชา หน้าที่พลเมืองชั้น ม. 4-6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพ ฯ : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2548). และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลา. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประชาชาติ (2563). วงเสวนา มธ.ชี้ ประชามติ รธน. แค่นวัตกรรม คสช.ส่งเสริมประชาธิปไตยไทยๆ. ประชาชาติ. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/politics/news-421567

ประชาไท. (2561). สถิติคุกคามประชาชนยุค คสช. นับพัน ศูนย์ทนายความฯ ชี้ต้องจัดการกฎหมายที่ออกโดย คสช. ประชาไท. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2018/05/76985

ประภัสสร์ เทพชาตรี. (2557, 24 กรกฎาคม). ข้อเสนอการปฏิรูปการต่างประเทศของไทย (ตอนที่ 3) : grand strategy. ไทยโพสต์. น.3.

แผนจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชั้น ม.3 (มปป.). หัวข้อ พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2560). เทศบาล พื้นที่ เมือง และกาลเวลา. กรุงเทพ ฯ : ศยามปัญญา.

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2561). 14 ปี สถาบันพระปกเกล้า 80 ปีปฏิวัติสยาม ชนะศึกแต่แพ้สงคราม? ตอนที่ 1 สถาบันสถาปนา. ประชาไท. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2012/06/40839

มนตรี สิมมาคำ. (2562). คำเหตุผลเบื้องหลังการใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในปี พ.ศ. 2559 ของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยาตาเบ, ยาสุกิจิ. (เออิจิ มูราชิมาและนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ แปล). (2550). การปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงในประเทศสยาม. กรุงเทพ ฯ : มติชน.

วรศักดิ์ มหัทธโนบล. (2558). ชำแหละไทยลู่ตามลม จุดหักเหสัมพันธ์มหาอำนาจ. โพสต์ทูเดย์. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/politic/report/386475

วิริยะ บุญยะนิวาสน์, สุพน ทิมอ่ำ, เยาวลักษณ์ อักษร และ ณัฐพร ยวงเงิน. (2560). คู่มือครูสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. (2520). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวพระราชดำริทางการเมืองพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2468-2477). กรุงเทพ ฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศราวุฒิ วิสาพรม. (2559). ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์มติชน.

ศรัญญู เทพสงเคราะห์. (2562). ราษฎรธิปไตย: การเมือง อำนาจ และทรงจำของ (คณะ) ราษฎร. กรุงเทพ ฯ : ศิลปวัฒนธรรม.

ศิวัช ศรีโภคางกุล. (2561). ความอยุติธรรมในระยะไม่เปลี่ยนผ่าน: 8 หลังเหตุการณ์การสลายการชุมนุมในปี 2553. ฟ้าเดียวกัน, 16(2), 67-102.

ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา. (2536). ชีวิต แนวคิด และการต่อสู้ของ "นรินทร์กลึง" หรือ นรินทร์ ภาษิต คนขวางโลก. กรุงเทพ ฯ: มติชน.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (มปป.(ก)). แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมืองฯ ม.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และ คณะ. (มปป.(ข)). แผนการจัดการเรียนการสอน สื่อฯ แม่บทมาตรฐานประวัติศาสตร์ ชั้นป.1 แผนฯ มมฐ., สมฐ. ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (มปป.(ค)). แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมืองฯ ม.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (มปป.(ง)). แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมืองฯ ม.3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. (2544). ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง : รวมบทความเกี่ยวกับกรณี 14 ตุลา และ 6 ตุลา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก.

สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด. (มปป.(ก.)). แผนการจัดการเรียนการสอน หน้าที่พลเมือง ชั้นม.4-6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.

สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด. (มปป.(ข.)). แบบทดสอบท้ายบทเรียน สังคมศึกษา ป.5 หน่วยการเรียนรู้ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.

สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด. (มปป.(ค.)). แบบทดสอบท้ายบทเรียน สังคมศึกษา ป.6 หน่วยการเรียนรู้ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.

หมัดเหล็ก. (2558). ประชาธิปไตย 99.99%. ไทยรัฐ. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/488990

ออร์เวลล์, จอร์จ. (รัศมี เผ่าเหลืองทอง และ อำนวยชัย ปฎิพัทธ์เผ่าพงษ์ แปล). (2551). 1984. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์สมมติ.

อำนวย พุทธมีและคณะ. (2560). สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : แม็คเอ็ดดูเคชั่น.

อัจฉราพร กมุทพิสมัย. (2532). ปัญหาในสังคมไทยก่อนการปฏิวัติ 2475: ภาพสะท้อนจากงานเขียนทางหนังสือพิมพ์. กรุงเทพ ฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Augé, M. (2004). Oblivion. Minneapolis: University of Minnesota Press.

BBC Thai. (2561). 4 ปีรัฐประหารมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของใคร ? BBC Thai. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/resources/idt-sh/thai_junta

Chachavalpongpun, P. (2014). The Politics of International Sanctions: The 2014 coup in Thailand. Journal of International Affairs, 68(1), 169–185.

Connerton, P. (2008). Seven Types of Forgetting. Memory Studies, 1(1), 59-71.

Haberkorn, T. (2016). A Hyper-Royalist Parapolitics in Thailand. Journal of the Humanities and

Social Sciences of Southeast Asia, 172(2-3), 225–248.

iLaw. (2558). สรุปสถานการณ์ปี 2557 1/5: การเรียกบุคคลไปรายงานตัว การจับกุมและการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก. iLaw. สืบค้นจาก https://freedom.ilaw.or.th/report/สรุปสถานการณ์ปี-2557-15-การเรียกบุคคลไปรายงานตัว

iLaw. (2561). มาตรา 44 ครบ 200 ฉบับ ใช้ทุกประเด็นปัญหาแบบตามใจชอบ. iLaw. สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/5041

Radstone, S. (2008). Memory Studies: For and against. Memory Studies, 1(1), 31–39.

Ricoeur, P. (2004). Memory, History, Forgetting. Chicago IL: University of Chicago Press.

Sombatpoonsiri, J. (2017). The 2014 Military Coup in Thailand: Implications for political

conflicts and resolution. Asian Journal of Peacebuilding, 5(1), 131–154.

Sopranzetti, C. (2016). Thailand’s Relapse: The implications of the May 2014 Coup. The

Journal of Asian Studies, 75(2),299-316

Suksamran, N. (2014). Suthep in Talks with Prayuth ‘since 2010’. Bangkok Post. Retrieved from http://www.bangkokpost.com/news/local/416810/suthep-in-talks-with-prayuth-since-2010

Vivian, B. (1999). The Art of Forgetting: John W. Draper and the rhetorical dimensions of

history. Rhetoric & Public Affairs, 2(4), 551-572.