รัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยม : จาก คสช.- ถึงเสื้อคลุมประชาธิปไตย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เป็นการวิพากษ์ตามกรอบการวิเคราะห์แนวเศรษฐศาสตร์การเมือง มีสาระดังนี้ (1) เบื้องหลังการสถาปนาอำนาจของรัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยม (พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2562) คือ ภาคีพันธมิตรเครือข่ายชนชั้นนำฝ่ายอนุรักษ์ในสังคมไทย ประกอบด้วย ชนชั้นนำฝ่ายอนุรักษ์นิยม ชนชั้นนำภาครัฐ ชนชั้นนำในกองทัพ กลุ่มทุนผูกขาด กลุ่มชนชั้นกลางในเมือง และนักธุรกิจการเมืองได้ร่วมกันการสร้างเงื่อนไขทางการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการรัฐประหาร (2) ภายหลังการยึดอำนาจรัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยมไม่มีการปฏิรูปประเทศตามคำกล่าวอ้าง ทั้งหมดเป็นการหลอกลวงประชาชน เป็นภาพลวงตาเพื่อสร้างความชอบธรรมในการรัฐประหารเท่านั้น (3) รัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยมได้สืบทอดอำนาจผ่านกติกาประชาธิปไตยและได้เข้าสู่อำนาจในกติกาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 โดยมีพรรคพลังประชารัฐเป็นกลไกขับเคลื่อนหลัก ภายหลังการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ได้ร่วมมือกับกลุ่มทุนธุรกิจการเมือง เจ้าพ่อท้องถิ่น และการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากวุฒิสมาชิกทำการจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ (4) รัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยมใช้อิทธิพลทางการเมืองควบคุมกลไกสถาบันทางการเมืองหลักของประเทศได้ทั้งระบบ แต่สิ่งที่รัฐบาลฯ ไม่สามารถควบคุมได้เลย คือ ศรัทธาจากประชาชน เพราะการใช้อำนาจของรัฐบาลฯ ที่เอื้อประโยชน์เฉพาะเครือข่ายชนชั้นนำฝ่ายอนุรักษ์และนักการเมืองที่เป็นเครือข่ายอำนาจของตนเอง รัฐบาลคำนึงเพียงสถานะความมั่นคงในอำนาจของตนเองเป็นหลักสำคัญ ทั้งที่ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน คนยากคนจนค่อนประเทศมีชีวิตที่ยากลำบาก
Article Details
References
กองบรรณาธิการข่าวสด. (2554). 49 วัน ยิ่งลักษณ์ สู่นายกฯ หญิง คนแรกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
คสช. แจกใบปลิว 10 เหตุผลทำรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ชัยฯ. (2 ธันวาคม 2562). ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจาก https://mgronline.com/politics/detail/9570000061701
ไชยันต์ ไชยพร. (14 ธันวาคม 2562). หลังและหน้ารัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637968
“ทักษิณ” ขอบคุณคนในพรรคเพื่อไทย ขนทัพเยี่ยมเยียนให้กำลังใจถึงดูไบ. (1 ธันวาคม 2562). ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/politic/1716485
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2561). “ข้ออ้าง” การปฏิวัติ - รัฐประหารในการเมืองไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
นิรโทษกรรม “สุดซอย” หายนะ “เพื่อไทย” ลุงกำนัน ปั่นม็อบลุกฮือ ขับไล่ ยิ่งลักษณ์. (4 ธันวาคม 2562). ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/politic/1505783
ปิยะภพ เอนกทวีกุล. (2 ธันวาคม 2562). ย้อนเส้นทางบูรพาพยัคฆ์ เติบโตยุค ทักษิณ ชินวัตร ก่อนหยั่งรากครองตำแหน่ง ผบ.ทบ. กว่าทศวรรษ. The Standard. สืบค้นจาก https://thestandard.co/burapa-payak/
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ และ กนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2547). มาศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองกันเถิด. เอกสารอัดสำเนา.
ประภาพร สีหา. (2560). ความขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐประหารปี พ.ศ. 2557. วารสารรัฐศาสตรปริทรรศน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(2), 150 - 152.
เปิดแผนเสื้อแดงโคลนนิ่ง กปปส. (2 ธันวาคม 2562). โพสต์ทูเดย์. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/politic/report/280445 ‘รสนา’ แฉ ‘รัฐบาล - คสช.’ เอื้อกลุ่มทุนใหญ่ ซัด‘พปชร.’ ชนะอนาคตไทยไม่เหลือ. (4 ธันวาคม 2562). แนวหน้า. สืบค้นจาก https://www.naewna.com/politic/386967
ราชกิจจานุเบกษา. (16 พฤศจิกายน 2562). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
“รัฐประหาร” ผบ.ทบ. แถลงยึดอำนาจ. (2 ธันวาคม 2562). โพสต์ทูเดย์. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/การเมือง/296407
ลำดับเหตุการณ์วันที่ 20 - 22 พ.ค. วันรัฐประหาร. (14 ธันวาคม 2562). กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/584057
แลรี่ ไดมอนด์: ประชาธิปไตยโลกที่ถดถอยกับบันไดเผด็จการ 12 ขั้น. (1 ธันวาคม 2562). ประชาไท. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2018/08/78393
วัชรพล พุทธรักษา. (2559). บทบรรณาธิการ ว่าด้วยลัทธิมาร์กซ์ / มาร์กซิสม์ (Marxism). วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2), 11 - 15.
“วันนอร์” แฉกลางสภา ถามต่อหน้าบิ๊กตู่ พูดวางแผนก่อนยึดอำนาจ 3 ปี หมายความว่าอะไร ?. (2 ธันวาคม 2562). มติชนออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_214013
วุฒิ สรา. (16 พฤศจิกายน 2562). “เพื่อไทย” สายตรง - สายเลือด “ทักษิณ”. มติชน. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/newsroomanalysis/news_1180141
สรุปผลโหวตนายกฯ ประยุทธ์ vs ธนาธร. (16 พฤศจิกายน 2562). The Standard. สืบค้นจาก https://www.thestandard.co/pm-vote-summary-results/
สืบทอดอำนาจ.(16 พฤศจิกายน 2562). ilaw. สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/taxonomy/term/1772
สับขาหลอกถึงสุดซอย ?. (14 ธันวาคม 2562). ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/377412
“อรรถจักร์” ซัดยุทธศาสตร์ชาติ เอื้อทุนใหญ่ เพิ่มเหลื่อมล้ำ. (16 พฤศจิกายน 2562). Thai PBS NEWS. สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/283280
4 ปี คสช. ปฏิรูปแค่พิธีกรรม. (1 ธันวาคม 2562). ไทยโพสต์. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/9567
“EEC” เขตเศรษฐกิจ “พิเศษ” สำหรับใคร ?. (16 พฤศจิกายน 2562). ilaw. สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/5358
E-DUANG: ปีศาจทักษิณ ปีศาจยิ่งลักษณ์ “ปฏิมา” การเมือง หลอกหลอน. (2 ธันวาคม 2562). มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นจาก https://www.matichonweekly.com/e-daung/article_123479
Whibley, L. (2020, January 3). Greek Oligarchies, Their Character and Organisations. Retrieved from https://archive.org/details/cu31924028258204/page/n10/mode/2up /