ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองนโยบายและแผนควบคุมยาสูบแห่งชาติของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบ (2) ศึกษาระดับการตอบสนองต่อนโยบายและแผนควบคุมยาสูบแห่งชาติของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบ และ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการตอบสนองต่อนโยบายและแผนควบคุมยาสูบแห่งชาติของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ มีหน่วยวิเคราะห์ในระดับครัวเรือน ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบ จำนวน 400 ครัวเรือน ซึ่งสุ่มแบบกลุ่มจากพื้นที่ที่มีการปลูกใบยาสูบหลักของประเทศ ได้แก่ จังหวัดแพร่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดหนองคาย และจังหวัดร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลระดับตัวแปรเดียวโดยใช้สถิติพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลระดับสองตัวแปรด้วยสถิติ Chi-square
ผลการวิจัยพบว่า (1) ครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบมีการสะสมและครอบครองสินทรัพย์ทุนอยู่ทั้งหมด 4 ด้าน ประกอบด้วย ทุนมนุษย์ ทุนกายภาพ ทุนการเงิน และทุนทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อใช้ในการดำรงชีพของครัวเรือน สำหรับกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจของครัวเรือนเกษตรกรไม่ได้ลดพื้นที่ปลูกยาสูบลงและไม่ได้ปลูกพืชอื่นทดแทน เกษตรกรรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายและแผนควบคุมยาสูบมาโดยตลอด และเริ่มมีความกังวลใจเกี่ยวกับนโยบายที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อครัวเรือน ชุมชน และกลุ่มเครือข่ายของตน นอกจากนี้พวกเขายังให้ความสำคัญต่อระดับความอยู่ดีมีสุขในประเด็นสุขภาพและการเงินเป็นหลัก (2) ครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบส่วนใหญ่มีการตอบสนองต่อนโยบายและแผนควบคุมยาสูบแห่งชาติในระดับน้อย (ร้อยละ 54.5) โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งตัดสินใจที่จะยังไม่ตอบสนองต่อนโยบายและแผนดังกล่าว (ร้อยละ 58.3) และ (3) พื้นที่เพาะปลูก ถิ่นกำเนิด และจำนวนเพื่อนบ้านที่ปลูกใบยาสูบเป็นสามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการตอบสนองต่อนโยบายและแผนควบคุมยาสูบแห่งชาติของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งรณรงค์ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในนโยบายและแผนควบคุมยาสูบแห่งชาติแก่เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบในพื้นที่ที่มีระดับการตอบสนองน้อยเป็นหลัก รวมถึงใช้เครือข่ายเกษตรกรโดยเฉพาะเพื่อนบ้านที่ปลูกใบยาสูบด้วยกันเป็นกลไกในการผลักดันนโยบาย
Article Details
References
จันทะลา วรรณหงส์ และธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2561). เครือข่ายทางสังคมของแรงงานสตรีลาวย้ายถิ่นในจังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(2), หน้า 127-148.
ทวีศักดิ์ เพ็งทวี และธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2562). บริบทความเปราะบางของครัวเรือนแม่หญิงพิการลาวในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารนานาชาติมหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), หน้า 111 - 131.
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2560). การวิจัยเชิงปริมาณสำหรับงานพัฒนาสังคม. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2560). หมุดยึดเด็กไกลบ้าน: บทบาทของเครือข่ายทางสังคมที่มีต่อการดำรงชีพของแรงงานนักเรียนไทยในออสเตรเลีย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 9(2), หน้า 260-282.
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2561). พหุลักษณ์ของเครือข่ายทางสังคมในการจัดการนาของเกษตรกรอีสานในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ประเทศไทย 4.0. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 35(3), หน้า 216-237.
นพรัตน์ สิทธิโชคธนารักษ์, เสถียร ศรีบุญเรื่อง, คณิต เศรษฐเสถียร, และลัชลี เจ็งเจริญ. (2549). ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมใบยาสูบขนาดเล็กในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 10(1), หน้า 216-237.
บัวพันธ์ พรหมพักพิง, นิลวดี พรหมพักพิง, พะเยาว์ นาคำ, เกษราภรณ์ คลังแสง, ภัทรพร ศรีพรหมและพรเพ็ญ ปานคำ (2550). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการเศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องการควบคุมบุหรี่. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2553). ประชาคมกับการมีส่วนร่วมของประชาชน. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บัวพันธ์ พรหมพักพิง, นิลวดี พรหมพักพิง, พรเพ็ญ ปานคำ, เกษราภรณ์ คลังแสง, ภัทรพร ศรีพรหม, อนุวัฒน์ พลทิพย์ และเบญจมาภรณ์ ผาโคตร. (2553). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการเส้นทาง “ยาเส้น” : เกษตรกรผู้ปลูก ผู้ผลิตยาเส้น ผู้จำหน่าย และผู้บริโภคบุหรี่มวนเอง. ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บัวพันธ์ พรหมพักพิง, ฉลาด จันทรสมบัติ, ชูพักตร์ สุทธิสา, คณิน เชื้อดวงผุย, พรเพ็ญ ปานคำ, สุธาสินี ปรีดาสา, ภัทรภร วีระนาคินทร์, อนุวัฒน์ พลทิพย์, พัฒนพงษ์ ธงหาร, อาภาพร บุญทวี, ทานตะวัน สิงห์แก้ว และประจักษ์ อาษาธง. (2555). รายงานวิจัย โครงการการสร้างและพัฒนามาตรการทางสังคม เพื่อควบคุมการบริโภคและการจำหน่ายยาเส้น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา 3 จังหวัดในภาคอีสาน. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บัวพันธุ์ พรหมพักพิง. (2557). สถานการณ์ยาเส้น. ในศิริวรรณพิทยรังสฤษฏ์ปวีณา ปั้นกระจ่าง และสุนิดา ปรีชาวงษ์ (บรรณาธิการ). สถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงหลักด้านยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)
ปวีณา ปั้นกระจ่าง และศิริวรรณพิทยรังสฤษฏ์. (2557). สถานการณ์การบริโภคยาสูบของประชากรไทยพ.ศ. 2557 กับ ประสิทธิภาพการดำเนินการควบคุมยาสูบ. ใน ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ปวีณา ปั้นกระจ่าง และสุนิดา ปรีชาวงษ์ (บรรณาธิการ). สถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงหลักด้านยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)
สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ. (2554). แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2553 – 2557. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (2557). สรุปสถานการณ์ตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทยปี 2557. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2559). ลืมตาอ้าปาก จาก “ชาวนา” สู่ “ผู้ประกอบการ”. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน.
Chamaratana, T.; Daovisan, H. and Prompakphink, B. (2018). Transforming informal workers’assets into their livelihoods: A case study of garment workers in the Lao PDR. Pertanika Journal of Social Sciences and Humanities. 26(3), pp. 1419-1432.
Chambers, R. and Conway, G.R. (1991). Sustainable Rural Livelihoods: Practical Concepts for the 21st Century. London : Institute of Development Studies.
Cunningham, G.K. (1986). Educational and Psychological Measurement. New York: Macmillan.
Neuman, W. L. (2004). Basic of Social Research: Qualitative and Quantitative Approaches. Boston: Pearson Education.
World Bank Group. (2018). Economics of Tobacco Taxation Toolkit. Washington, D.C. : WBG Global Tobacco Control Program.