การจัดการเรียนการสอนวิชาสิทธิหน้าที่พลเมืองในประเทศเยอรมนี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษากระบวนเรียนการสอนในระดับโรงเรียนเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Civic education หรือ Citizenship education) ในประเทศเยอรมนี และเพื่อนำบทเรียนจากการค้นพบข้างต้นมาจัดทำเป็นข้อเสนอในการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร ทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์ผู้รู้
ผลการศึกษาพบว่าการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในประเทศเยอรมนีนั้น นับว่ามีความเข้มแข็งที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีการให้อิสระกับมลรัฐต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของแต่ละมลรัฐในการเป็นผู้รับผิดชอบหลักสูตร ตามหลักการกระจายอำนาจจากรัฐบาลกลางสู่รัฐบาลท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม แต่ละมลรัฐอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน คือ มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมประชาธิปไตย การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการอยู่ร่วมกันโดยสันติและสร้างสรรค์ โดยมีการบรรจุวิชาประชาธิปไตยศึกษา (Democracy education) ร่วมกับวิชาบูรณาการอื่น ๆ ในระดับมัธยม ได้แก่ วิชาประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นการสอนประวัติศาสตร์อย่างตรงไปตรงมาและชี้ให้เห็นบทเรียนที่เกิดในอดีต วิชาสื่อที่เน้นให้นักเรียนรู้จักสนใจในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบัน โดยกระตุ้นให้รับข่าวสารอย่างครอบคลุมและรู้จักวิเคราะห์ข้อเท็จจริงจากข้อมูลและแหล่งข้อมูลนั้น ๆ ตลอดจนวิชาศาสนาที่เปิดกว้างให้กับทุกความเชื่อและศรัทธา รวมถึงผู้ที่ไม่มีศาสนาให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีขันติธรรม ทั้งนี้การศึกษาดังกล่าวยังเน้นการปฏิบัติจริงโดยผู้เรียนจากกิจกรรมเสริมทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียนซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน
Article Details
References
กฎหมายรัฐธรรมนูญของเยอรมนี. (10 มกราคม 2563) The Federal Government. สืบค้นจาก https://www.bundesregierung.de/breg-en/chancellor/basic-law-470510
กร ชัยธีระสุเวท. (2562). ประวัติศาสตร์เยอรมนี ฉบับกระชับ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.
ชัยวัฒน์ ม่านศรีสุข, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (5 ธันวาคม 2562). สัมภาษณ์.
ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
นัชชา นรานุวัฒน์. ศูนย์เกอเธ่ (Goethe Institut). (12 ธันวาคม 2563). สัมภาษณ์.
ปริญญา เทวนฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค.
พัชราพรรณ พิทักษ์เขื่อนขันธ์. ศูนย์เกอเธ่ (Goethe Institut). (12 ธันวาคม 2563). สัมภาษณ์.
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์. (2548). การต่อสู้ของข้าพเจ้า. (ศ.ป., ผู้แปล). กรุงเทพ: โฆษิต.
Atmacasoy, A. (2020, January 11). K - 12 Education in Germany: Curriculum and PISA 2015. Middle East Technical University. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED577138.pdf
Charter on Education for Democratic Citizenship Directorate of Education and Languages and Human Rights Education. (2020, January 19). Council of Europe Retrieved from https://rm.coe.int/16803034e5
Dürr, K. (2019, December 20). The school: A democratic learning community. Council of Europe. Retrieved from https://rm.coe.int/16802f726f
Education for Democratic Citizenship and Human Rights Education (EDC/HRE). (2020, January 14). Charter on Education for Democratic Citizenship and Human Rights Education. Retrieved from https://www.coe.int/en/web/edc/charter-on-education-for-democratic-citizenship-and-human-rights-education
Eurydice Citizenship Education at School in Europe - 2017. (2020 January 10). European Commission. Retrieved from https://eacea.ec.europa.eu/national-policies/eurydice/content/citizenship-education-school-europe-%E2%80%93-2017_en
Federal Agency for Civic Education. (2019, December 15). Bundeszentrale für politische bildung. Retrieved from https://www.bpb.de/die-bpb/138852/federal-agency-for-civic-education
Germany Teaching and Learning in General Lower Secondary Education. (2019, December 20). European Commission. Retrieved from https://eacea.ec.europa.eu/national-policies/eurydice/content/teaching-and-learning-general-lower-secondary-education-14_en
Goethe Institut. (2019, December 20). Goethe Institut. Retrieved from https://www.goethe.de/ins/th/th/index.html
Lange, D & Heldt, D. (2019, December 20). NECE Conference Workshops. Citizenship Education in Germany. Bundeszentrale für politische bildung. Retrieved from https://www.bpb.de/veranstaltungen/netzwerke/nece/206127/citizenship-education-in-germany
Schopbach, A. (2020 January 10). Interview.
Sander, G. (2020 January 12). Interview.
Schada, S. Ph.D. candidate, Fudan University. (2019, November 16). Interview.
_________. Ph.D. candidate, Fudan University. (2020, January 13). Interview.
_________. Ph.D. candidate, Fudan University. (2020, February 4). Interview.
_________. Ph.D. candidate, Fudan University. (2020, February 7). Interview.
Snyder,T. (2020, January 14). How Hitler Pioneered ‘Fake News’. The New York Times. Retrieved from https://www.nytimes.com/2019/10/16/opinion/hitler-speech-1919.html