หลักสูตรต่อต้านการทุจริตของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ : แนวคิดต้านโกงจากข้างล่างสู่เบื้องบนผ่านระบบการศึกษา Anti-Corruption Course for Higher Education Institutions in Chiang Mai Province The Idea of Anti-Corruption through Education, Bottom up Model.

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา

บทคัดย่อ

จากการสำรวจต้นแบบการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในต่างประเทศ พบว่าปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง นอกจากการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการอื่น ๆ คือ ระบบการศึกษาที่ต้องปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และทำให้ทุกคนตระหนักว่าการทุจริตคอร์รัปชันส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อการพัฒนาประเทศและประชาชนต้องมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ดังนั้นการที่ประเทศไทยเริ่มใช้รายวิชา “โตไปไม่โกง” ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 และสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ จานวน 12 แห่ง ต่างช่วยกันระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการแต่ละสถาบันจนเกิดเป็นรายวิชาการต่อต้านการทุจริต (Anti-corruption) เพื่อประกาศใช้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 นับเป็นตัวอย่างการทำงานเชิงรุกใช้รูปแบบยึดถือแนวทางตามแนวพระราชดำรัสของรัชกาลที่ 9 ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน “ระเบิดจากข้างใน” กล่าวคือ ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อนแล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก ดังนั้นเมื่อมีการประกาศใช้รายวิชาเพื่อการป้องกันและต่อต้านการทุจริตในหลากหลายชื่ออีกเกือบ 10 รายวิชา ทั้งในและนอกระบบการศึกษาที่จัดทำโดยหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หรือแม้แต่ในรูปแบบของภาคประชาสังคมจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” เป็นรูปธรรมได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย.
(2557). “หลักสูตรคบเด็กสร้างชาติ โตไปไม่โกง”. กรุงเทพมหานคร: สำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร.
ณัฐิกานต์ วรสง่าศิลป์. (2562). “ดร.มานะ นิมิตรมงคล ผู้สร้างกระแสต้านโกงและวางกลไกต่อต้าน
คอร์รัปชั่นอย่างเป็นระบบ”. สืบค้นเมื่อวันที่16 พฤษภาคม 2562, จาก
https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256203PublicTrust.aspx
ทีมข่าวการเมืองเดลินิวส์.(2561). “เดลินิวส์.ป.ป.ช. คลอด 5 หลักสูตรป้องกันทุจริต”. สืบค้นเมื่อวันที่ 23
พฤษภาคม 2561 จาก https://www.dailynews.co.th/politics/638314
ทีมข่าวการเมืองโพสต์ทูเดย์. (2561). “ปราบปรามทุจริต”อยู่ที่สังคม ไม่ใช่รธน.” สืบค้นเมื่อวันที่16
พฤษภาคม 2562, จาก https://www.posttoday.com/politic/report/551483.68
ทีมข่าวการเมืองหนังสือพิมพ์แนวหน้า.(2562). “ดร.มานะคุ้ยต้นตอ 'หลักสูตรต้านโกง' ไทยเข็น
ไม่ขึ้น จี้ต้องทำจริงจัง-อย่าแค่หาเสียง” . สืบค้นเมื่อวันที่15 มีนาคม 2562, จาก
https://www.naewna.com/politic/342583
ธานินทร์ กรัยวิเชียร.(2552). “คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร”. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร :
สำนักงานพัฒนาข้าราชการพลเรือน.
บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา. (2553). “(บทคัดย่อ) การแก้วิกฤตการณ์โลกด้วยจริยธรรมของ
นักการเมือง”. นำเสนอในการประชุมวิชาการวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี พ.ศ.2553 ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา.(2557). “แนวทางเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทยด้วยการสร้างจิตสำนึก
ค่านิยม ผ่านสุภาษิต คำพังเพย”, บทความพิเศษ, ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557)
บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา. (2561). “ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติหน้าที่ด้านการป้องกันการทุจริตของ
คณะกรรมการ ป.ป.จ.เชียงใหม่”. เชียงใหม่ : หจก.พงษ์สวัสดิ์การพิมพ์.
วริยา ชินวรรโณ. บรรณาธิการและผู้เขียน. (2546). “จริยธรรมในวิชาชีพ”. กรุงเทพมหานคร:สำนักงาน
สนับสนุนกองทุนการวิจัย.(สกว.).
สุมน อมรวิวัฒน์. (2527). “กลวิธีสอนจริยศึกษาและการสอดแทรกคุณธรรม”. กรุงเทพมหานคร : สภา
พุทธิสมาคมแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2543). “ปัจจัยและกระบวนการทื่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรม
ระดับบุคคลเพื่อมุ่งความสำเร็จของส่วนรวมของนักศึกษามหาวิทยาลัย: การศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ”. ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาอังกฤษ
Chris MacDonald, Michael McDonald, and Wayne Norman. (2002). “Charitable Conflicts
of Interest, Journal of Business Ethics” 39:1-2, 67-74, Aug.2002.
Kang, Chul-Kyu. (2002). “Korea’s Anti-Corruption Efforts and the Role of the KICAC”.
Keynote Address at the American University, May 2002.