การนำระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินมาพัฒนาการจัดเก็บรายได้จากภาษี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง

Main Article Content

อัญชลี การปลูก
ดร. วีระกุล ชายผา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการมีและสภาพการใช้ระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน นำเสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการใช้ระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้จากภาษีโดยแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บรายได้ แต่ข้อมูลยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ปัญหาที่พบคือด้านความพร้อมของทรัพยากรในการดำเนินการจัดทำระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานและด้านการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินและการจัดเก็บรายได้ไม่ได้รับความสะดวกในการประสานงานเท่าที่ควร ข้อเสนอแนะต้องการให้ผู้บริหารให้ความสนใจในการใช้แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน และบุคลากรต้องการเข้ารับการฝึกอบรมเรื่องการจัดทำและการใช้แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2552). คู่มือการจัดทำแผนที่ภาษี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดนกองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น.

จารุวรรณ ขยัน. (2553). การพัฒนาระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ของเทศบาลตำบลหางดง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จิตประพัฒน์ สายโสภา. (2554). การกระจายอำนาจการคลังในประเทศอินเดีย: บทเรียนสำหรับการกระจายอำนาจการคลังในประเทศไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 51(4), 131 - 152.

นิมล เครือวงศ์. (2557). ระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน การดำเนินงานเชิงรุกที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้เทศบาลตำบล อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

รังสรรค์ ธนะพรพันธ์. (2516). ทฤษฎีการภาษีอากร. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (4 มีนาคม 2560). ประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?titl.

สุธี สุทธิสมบูรณ์ และสมาน รังสิโยกฤษฏ์. (2536). การบริหารราชการ. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สุภาภรณ์ ศรีตองอ่อน. (2553). ปัญหาและอุปสรรคในการนำระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินมาใช้ในการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดปทุมธานี. รายงานการศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Yamane, T. (1970). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.