การสังเคราะห์ดุษฎีนิพนธ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2554-2559
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการงานวิจัยสถาบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ 1) ข้อมูลพื้นฐานผู้ทำดุษฎีนิพนธ์ วิธีวิทยาการวิจัยและการใช้ทฤษฎีของดุษฎีนิพนธ์ และ 2) ความสอดคล้อง ประโยชน์ และผลการวิจัยดุษฎีนิพนธ์กับความสอดคล้องของแผนปฏิบัติราชการในระดับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และระดับมหาวิทยาลัยขอนแก่น การวิจัยนี้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง ได้แก่ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยที่ศึกษาจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลวิจัยพบว่าผลการวิจัยดุษฎีนิพนธ์ของกลุ่มตัวอย่างมีความสอดคล้องของแผนปฏิบัติราชการในระดับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และในระดับภาพรวมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งควรนำไปใช้ในประกอบการปรับปรุงหลักสูตรและกำหนดทิศทางการทำดุษฎีนิพนธ์ ตลอดจนนำข้อค้นพบที่ได้เป็นข้อมูลสำหรับการวางระบบการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาต่อไปในอนาคต
Article Details
References
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.(2552). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 - 2555. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
________________________________________________________. (2555). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 - 2558. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
________________________________________________________. (2560). คู่มือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2560. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จีราภรณ์ สุธัมมสภา และ สุรีย์ เข็มทอง. (2557). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 12(2), หน้า 15-22.
ชินวงศ์ ศรีงาม (2555). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น กรุงเทพฯ: สุวรียาสาส์น.
ประสพชัย พสุนนท์.(2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินรวิโรฒ, 18, หน้า 375-396.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล.(2553). การออกแบบการวิจัย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิชยานนท์ ไพโรจน์.(2557). การวิเคราะห์และสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เรื่อง การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาของมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงปี พ.ศ. 2547 - 2556. การศึกษาอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.(2552). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 - 2555. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
_____________________. (2555). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 - 2558. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มานพ คณะโต.(2550). วิธีวิทยาวิจัยเชิงคุณภาพในระบบสุขภาพชุมชน. ขอนแก่น: เครือข่ายพัฒนาวิชาการและข้อมูลสารเสพติด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ลัดดาวัลย์ สำราญ.(12 กุมภาพันธ์ 2562). การวิจัยธุรกิจ. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/laddawansomeran/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97-9
วาโร เพ็งสวัสดิ์.(2552). การวิจัยและการพัฒนา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(2), หน้า 1-12.
สิน พันธุ์พินิจ.(2547). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ : บริษัทวิทยพัฒน์จํากัด.
สุดลักษณ์ ณ พิกล.(2557). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีพุทธศักราช 2552 – 2554.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและสถิติการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โสภนา สุดสมบูรณ์.(2550). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรุณี อ่อนสวัสดิ์.(2551). ระเบียบวิธีวิจัย. พิษณุโลก: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.