การเตรียมความพร้อมของผู้บริหารภาครัฐเพื่อรองรับความเป็นเมืองศูนย์กลางพัฒนา กรณี Smart City จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ธนพล เลิศจตุรานนท์
ดร. รุ่งอรุณ บุญสายันต์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการรับรู้และการเตรียมความพร้อม (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเตรียมความพร้อมการเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart city) จังหวัดขอนแก่นในระดับอำเภอ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเสริมด้วยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 92 ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารภาครัฐส่วนภูมิภาคและผู้บริหารภาครัฐส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 9 อำเภอของจังหวัดขอนแก่น โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและการตั้งคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงข้อคิดเห็นเสนอแนะโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การเตรียมความพร้อมการเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart city) ระดับอำเภอ ในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.90) โดยมีรายละเอียดในรายประเด็นย่อย ได้แก่ ด้านความพร้อมในองค์กร (นโยบายและแผน และการกำหนดบุคลากรผู้รับผิดชอบ) ด้านความพร้อมด้านทรัพยากร ด้านความพร้อมของชุมชนและประชาชน และผลการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการเตรียมความพร้อมการเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart city) จังหวัดขอนแก่นในระดับอำเภอ ประกอบไปด้วย (1) บุคลากรไม่เพียงต่อภาระงานและไม่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (2) งบประมาณไม่เพียงพอ (3) เทคโนโลยีที่ไม่ตอบสนองการทำงานและให้บริการ (4) ขาดระบบการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน (5) ความไม่แน่นอนทางการเมือง และ (6) โครงสร้างองค์กรขาดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจนณรงค์ พันธุ์จันทึก, ฌาน เรืองธรรมสิงห์. (2562). การพัฒนาเมืองขอนแก่นให้เป็นเมืองอัจฉริยะ: พัฒนาการและความก้าวหน้า. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5 (น. 581 - 592).
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น.
ณัชชา หาทรัพย์. (2558). การเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ สํานักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์.
ธนาจุฑา กังสกุลนิต. (2562). แนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทยในอนาคต. สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. โครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ รุ่นที่ 11 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
นพนันท์ ตาปนานนท์, จิตติศักดิ์ ธรรมมาภรณ์พิลาศ, ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย, พรสรร วิเชียรประดิษฐ์, เกษมพันธุ์ ตระกูลขจรศักดิ์, พชร ตังสวานิช และคณะ. (2561). การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ. Unisearch Journal, 5(1), น. 3 - 8.
นพปฎล สุดเฉลียว. (2560). ความพร้อมของราชการส่วนภูมิภาคในการจัดการความมั่นคงภายใต้ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ : กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์นิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, บัณฑิตวิทยาลัย.
นันทวัน วงศ์ขจรกิตติ. (2559). นโยบายการให้บริการจังหวัดอัจฉริยะของประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 11(3), น. 365 – 377.
นุชนารถ นาคคำ . (2547). ความคิดเห็นที่มีต่อความพร้อมในการบริหารจัดการการศึกษาขั้น ปฐมวัยขององค์การบริหารส่วนตําบล : กรณีศีกษาองค์การบริหารส่วนตําบลในเขต อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา. (การศึกษาคนคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, วิทยาลัยการเมืองการปกครอง.
ปฏิมา แก้วดี. (2556). ความคิดเห็นต่อการเตรียมความพร้อมของบุคลากรกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี พ.ศ.2558. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย.
วัชรวรรณ ดวงสะเก็ด . (2555). ความพร้อมของเทศบาลตําบลในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการรับถ่าย โอนงานทะเบียนราษฎร. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวทยาลัย.
สมคิด บางโม. (2553). องค์การและการจัดการ: Organization and management. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
สำนักงานจังหวัดขอนแก่น. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2561 – 2565. ขอนแก่น: สำนักงาน.
_________________. (2562). สรุปการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: สำนักงาน.
ขอนแก่นปั้นอำเภอสมาร์ทซิตี้. (20 สิงหาคม 2562). สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น. สืบค้นจาก https://pr.prd.go.th/khonkaen/.
สุรเดช จองวรรณศิริ. (2555). Luther Gulick And his work POSDCoRB. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ทริสอะคาเดมี.
อภิศักดิ์ พัฒนจักร, กุลธิดา ท้วมสุข. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายการพัฒนาจังหวัด สู่การเป็นนครไอซีที. อินฟอร์เมชั่น, 23(2), น. 48 - 63.
Glasmeier, A. & Christopherson, S. (2015). Thinking about Smart Cities. Cambridge Journal of Regions, Economy and Society, 8(1), pp 3–12.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale.In Fishbeic,M.(Ed.), Attitufe Theory and Measurement. (pp.90 – 95). New York:Wiley & Son.