สถานการณ์ปัญหาและการส่งเสริมคุณธรรม ตามแนวคิดจังหวัดคุณธรรมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ปุณยวีร์ หนูประกอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ทางคุณธรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม จำแนกตามประเด็นคุณธรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเครือข่ายทางสังคม และ 2) ศึกษาการส่งเสริมคุณธรรม ความดี ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการศึกษาวิจัยเอกสารและการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกของกลุ่มเครือข่ายของสมัชชาคุณธรรม จำนวน 181 คน ด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 32 คน แล้วจึงวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย


สถิติเชิงพรรณนา และทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์และการส่งเสริมคุณธรรมที่ส่งผลกระทบต่อสังคม มีสาเหตุมาจากการที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสภาพที่ตั้งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ภาคใต้มาตั้งแต่สมัยโบราณ จึงทำให้ผู้คนจากหลากหลายพื้นที่เข้ามาแสวงหาโอกาส โดยขาดจิตสำนึกในการยึดโยงกับสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งผลให้มีการแสดงพฤติกรรมที่ทำให้เห็นว่าสถานการณ์ด้านคุณธรรมที่ปรากฎจากการศึกษาอยู่ในระดับต่ำ และในด้านข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์คุณธรรมพบว่า ส่วนใหญ่เป็นข่าวสารเชิงลบเพื่อเป็นการสะท้อนสังคม ดังนั้น  ภาคีเครือข่ายของสมัชชาคุณธรรม ซึ่งมีความจริงใจและตั้งใจจริงในการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม ควรปรับปรุงการประชาสัมพันธ์เผยแพร่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้สุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดคุณธรรมผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ ควบคู่ไปกับการจัดทำคู่มือและสื่อออนไลน์ในอันที่จะส่งเสริมพฤติกรรมและการประพฤติปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามหลักคุณธรรม นอกจากนี้ยังควรจัดการยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลที่ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรมเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนในสังคม จากผลการศึกษาทำให้สุราษฎร์ธานีได้มีแนวทางในการสรรค์สร้างสังคมที่ดีในรูปแบบจังหวัดคุณธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2559). คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2559-2564. สุราษฎร์ธานี: สุวรรณอักษร.

เครือศรี วิเศษสุวรรณภูมิ. (2560). การวิจัยและพัฒนาเครือข่ายเยาวชนเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. (ฉบับพิเศษ). 28(3). 50-63.

จินดา ค้าวรรธนะกูล และคณะ. (2561). การเสริมสร้างคุณธรรมทางการเมืองของสถาบันพลังจิตตานุภาพ. วารสารวิจัยการบริหารการพัฒนา. (กรกฎาคม-ธันวาคม). 8(2). : 79-92.

พระครูใบฎีกาสุบิน โสภโณ (มูลจ้อย), นาวิน พรมใจสา, ศิวาพร วังสมบัติ. (2560). แนวทางการขับเคลื่อนคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนในจังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (พฤษภาคม – สิงหาคม). 10(2). : 73-88.

เลอพร ศุภสร. (2562). การเปิดรับข่าวอาชญากรรมของเด็กและเยาวชน ศึกษาเฉพาะกรณีสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ. (กรกฎาคม – ธันวาคม) 5(2). : 150-167.

สิฐสร กระแสร์สุนทร. (2562). การส่งเสริมและพัฒนาการดําเนินงานด้านคุณธรรมจริยธรรมของ สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร: กรณีศึกษาการส่งเสริมและพัฒนาการประพฤติ ปฏิบัติตนของข้าราชการให้สอดรับกับค่านิยมองค์กรและพันธะสัญญาด้านการต่อต้านการ ทุจริต. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

เอกสิทธิ์ คล้ายแดง. (2560). การนำนโยบายการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร (บ้าน-วัด-โรงเรียน) มาใช้พัฒนาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ กรณีศึกษา : ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาปณิธาน. (มกราคม-มิถุนายน). 2(1). : 69-80.