การดำเนินภารกิจบริหารภายใต้กระบวนทัศน์การจัดการคุณค่าสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินภารกิจทางการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของบ้านสว่าง ที่สอดคล้องกับแนวคิดการจัดการคุณค่าสาธารณะ และข้อจำกัดของกระบวนทัศน์ดังกล่าว โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์จำแนกข้อมูลแบบอิงทฤษฎี พบว่าองค์การที่ศึกษาดำเนินภารกิจการบริหารภายใต้กระบวนทัศน์การจัดการคุณค่าสาธารณะในทุกขั้นตอนหลักอย่างเข้มข้น ยกเว้นรายละเอียดในกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ ความพร้อมรับผิดเป็นคุณค่าสาธารณะหลักและเด่นที่สุดที่อดีตผู้บริหารแสดงออก ตั้งแต่การแสวหาสิ่งที่มีคุณค่า การสำรวจศักยภาพขององค์การ และการได้รับความชอบธรรมเชิงอำนาจหน้าที่ ตามลำดับ คุณค่าด้านความพึงพอใจ ความเท่าเทียม และการยอมรับของประชาชน เกิดขึ้นในขั้นการแสวงหาสิ่งที่มีคุณค่าและขั้นการบรรลุประสิทธิผล และยังพบประสิทธิภาพที่สัมพันธ์กับความเชื่อมั่น และความไว้วางใจของประชาชนต่อองค์การที่ศึกษาและหน่วยงานภายนอกผู้ส่งมอบบริการสาธารณะ การศึกษานี้ไม่พบข้อจำกัดของกระบวนทัศน์ดังกล่าว คุณค่าสาธารณะที่พบใหม่ซึ่งไม่ปรากฏในกระบวนทัศน์นี้คือ ประสิทธิผลเชิงคุณค่าด้านน้ำใจจากการเอื้อเฟื้อน้ำแก่สังคมภายนอกโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน
Article Details
References
ภาษาไทย
วินัยชาญ สรรพโรจน์พัฒนา. (2560). คุณค่าสาธารณะ: ระบบอภิบาลในการจัดการภาครัฐ. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 5(2), 3-23.
ภาษาอังกฤษ
Alford, J. (2002). Defining the Client in the Public Sector: A Social Exchange Perspective. Public Administration Review, 62(3), 337-346.
Alford, J., and Hughes, O. (2008). Public Value Pragmatism as the Next Phase of Public Management. American Review of Public Administration, 38(2), 130-148.
Alford, J., and O’Flynn, J. (2009). Making Sense of Public Value: Concepts, Critiques and Emergent Meanings. International Journal of Public Administration, 32(3-4), 171-191.
Benington, J. (2011). From Private Choice to Public Vakue. in J. Benington and M. Moore (eds), Public Value Theory and Practice (31-51), Basingstoke: Macmillan.
Grant, Bligh, et al (2014). Public Value. summary background paper prepared for the Local Government Business Excellence Network, October 2014, Australian Centre of Excellence for Local Government.
Greene, Jeffrey D. (2005). Public Administration in the New Century. Australia: Thomson Wadsworth.
Hughes, O. (2006). The New Pragmatism: Moving beyond the Debate over NPM. presented at the 10th Annual International Research Symposium on Public Management, 10-12 April 2006, Glasgow Caledonian University, Scotland.
Meynhardt, T. (2009). Public Value in inside: What Is Public Value Creation?. International Journal of Public Administration, 32(3-4), 192-219.
Moore, Mark H. (1995). Creating Public Value: Strategic Management in Government. Massachusetts: Harvard University Press.
Morrell, K. (2009). Governance and the Public Good. Public Administration, 87, 3, 538-556.
Nixon, Mark. (2014). Creating Public Value: Transforming Australia’s Social Services. The synopsis summarises EY, Australia.
O’Flynn, Janine. (2009). From New Public Management to Public Value: Paradigmatic Change and Managerial Implications. Australian Journal of Public Administration, 66(3), 1-48.
Rhodes, Rod A.W. (1994). The Hollowing out of the State: the Changing Nature of Public Service in Britain. The Political Quarterly, 65(2), 138-151.
Smith, RFI. (2004). Focusing on Public Value: Something New and Something Old. Australian Journal of Public Administration, 63(4), 68-79.
Stoker, Gerry. (2006). Public Value Management: A New Narrative for Networked Governance?. The American Review of Public Administration, 36(41), 41-57.
Turkel, Eli, and Turkel, Gerald. (2016). Public Theory: Reconciling Public Interests, Administrative Autonomy and Efficiency. Review of Public Administration and Management, 4(2), 2-7.
Williams, Iestyn, and Shearer, Heather. (2011). Appraising Public Value: Past. Present and Futures. Oxford: Blackwell Publishing Ltd.