วิธีการวิทยาเพื่อรู้แจ้งอวิทยาตามทรรศนะของนิกายมาธยมิกะและโยคาจาร

Main Article Content

พระมงคง ธรรมวิธาน
ชัยชาญ ศรีหานู

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการนำเสนอวิเคราะห์หลักความคิดเรื่องอวิทยาซึ่งเป็นต้นเหตุของความทุกข์และกิเลสตัณหาซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมและวิธีการในตัวเองด้วยวิธีการทางญาณวิทยาของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานซึ่งเป็นแก่นคำสอนหลักที่เกิดจากนิกายมาธยมิกะและโยคาจาร ทั้งสองได้นำเสนอหลักแนวคิดเรื่องอวิทยาเชิงญาณวิทยาที่เน้นเรื่องของธรรมชาติของความรู้ อวิทยาคือความรู้ที่ผิดพลาดเกิดจากกรอบความคิดที่มีข้อจำกัดของโครงสร้างทางภาษาซึ่งทำให้เกิดมิจฉาทิฎฐิและความเชื่ออื่น ๆ จนแยกย่อยเป็นกลุ่มลัทธิต่าง ซึ่งเป็นเหตุให้มีความหลงผิดว่ามีตัวตน หรือไม่มีตัวตนในกรณีของมาธยมิกะ ส่วนโยคาจารถือว่า อวิทยาคือการไม่รู้ธรรมชาติแท้จริงหนึ่งเดียวคือจิต ปุถุชนหลงเข้าใจผิดว่ามีวัตถุภายนอกว่าเป็นสิ่งมีอยู่จริงต่างหากจากจิต จนทำให้เกิดอัตตาอยากเป็นเจ้าของวัตถุที่เข้าใจว่าจะทำให้เกิดความสุขแก่ตนจนเป็นเหตุให้เกิดกิเลสและการกระทำผิด ในวิธีการดับอวิทยามาธยมิกะนำเสนอหลักทางสายกลางเพื่อปล่อยวางจากการยึดติดความคิดทุกรูปแบบ ส่วนโยคาจารนำเสนอหลักวิธีการรู้ความจริงและการพัฒนาสมาธิเพื่อรวมความเป็นทวิภาพจนจิตรวมเป็นหนึ่งคือการเข้าถึงอาลยวิญญาณ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงทุกขณะปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Ashok, K. Chatterjee. Yogacara Idealism. New Delhi: Motilal Banarsidass, 1975.
K.Venkata Ramanan. Nagarjuna’s Philosophy. New Delhi: Motiral Banarasidass, 1998.
Swati Ganguly. Treatise in Thirty Verses on Mere-Consciousness. New Delhi: Motilal
Banarsidass, 1992.
Kenneth K. Inada. Nagarjuna, A Translation of His Mulamadhyamika-Karika with an
Introductory Essay. Tokyo: Hokuseido Press, 1970.
Daivid J. Kalupahana. Vijnaptimatratasiddhi, Vimsatika and Trimsatika, text and
trans., The Principle of Buddhist Psychology. Albay: State University of New
York, 1964.