เหตุแห่งการเกิดปัญญาด้วยการเจริญสมาธิ

Main Article Content

บุณชญา วิวิธขจร
มานพ นักการเรียน

บทคัดย่อ

สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึง ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง หรือภาวะที่จิตแนบแน่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนาน ๆ การเจริญสมาธินำหน้าวิปัสสนาเพื่อให้เกิดเป็นปัญญานั้นมีชื่อเรียกว่าสมถยานิก คือเมื่อเจริญสมาธิจนจิตตั้งมั่นแนบแน่นกับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแล้วจึงยกจิตที่เป็นสมาธินั้น ออกมาเจริญวิปัสสนาด้วยการกำหนดรู้ในสภาวะรูปนามในปัจจุบัน ผลของจิตที่เกิดจากการเจริญสมาธิคือการทำให้เกิดความสงบ สบาย และเป็นสุข เพราะจิตที่เกิดจากการเจริญสมาธิจะไม่ซัดส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน ควรแก่การงานคือการมีสมาธิประกอบในจิตในการคิดพิจารณาในสภาพธรรมต่าง ๆ โดยความเป็นรูปและนามในทุก ๆ อาการที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จนเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เกิดปัญญาญาณ เห็นสภาพที่แท้จริงของรูปนามนั้น ๆ โดยความเป็นไตรลักษณ์ คือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเปลี่ยนแปลง ผู้ปฏิบัติที่มีสติในการกำหนดรู้รูปนามปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง จักเกิดการพัฒนาของจิตขึ้นตามลำดับ โดยการเห็นอาการเกิดดับแจ่มชัดในทุก ๆ ขณะจิต ก็จะเกิดปัญญาพิจารณาต่อไปเป็นลำดับ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2525.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). ธัมมจักกัปปวัตนสูตร. พระคันธสาราภิวงศ์ แปล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์, 2555.
พระธรรมธีรราชมหามุณี (โชดก าณสิทฺธิ). หลักปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์, 2535.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. สมถกรรมฐานทีปนี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ทิพยวิสุทธิ์, 2539.