บาลีปริยัติเพื่อการศึกษาบาลีพระไตรปิฎก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความสำคัญของการศึกษาบาลีและคัมภีร์พื้นฐานการศึกษาบาลี คือ คัมภีร์สัททาวิเสส 4 ประเภท ได้แก่ 1) กลุ่มคัมภีร์ไวยากรณ์ คือ คัมภีร์แสดงหลักภาษา เช่น กัจจายนไวยากรณ์ โมคคัลลานไวยากรณ์ สัททนีติปกรณ์ เป็นต้น
2) กลุ่มคัมภีร์นิฆัณฑุ คือ คัมภีร์ประเภทพจนานุกรมศัพท์ เช่น คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา คัมภีร์เอกักขรโกศ เป็นต้น 3) กลุ่มคัมภีร์ฉันทลักษณ์ คือ คัมภีร์ว่าด้วยระเบียบในการวางคำ ครุ ลหุ เป็นแบบต่างๆ เช่น คัมภีร์วุตโตทัย คัมภีร์ฉันโทมัญชรี เป็นต้น 4) กลุ่มคัมภีร์เกฏภะ คือ คัมภีร์ว่าด้วยการตกแต่งเสียงและความหมายให้ภาษามีความไพเราะ เช่น คัมภีร์สุโพธาลังการ เป็นต้น นอกจากนั้น ในบทความนี้ ยังได้แสดงวิธีวิเคราะห์บทบาลีตามหลักคัมภีร์สัททาวิเสส คือ อนฺวติ (ย่อมไปตาม), อนปายินี ในบาทคาถาว่า ฉายาว อนปายินี (ดุจเงาที่ไม่หลีกจากตัว) และ ติทส (สวรรค์ชั้นดาวดึงส์) เป็นแนวทางสำคัญของปริยัติศึกษาเพื่อการศึกษาบาลีพระไตรปิฎก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
__________. อรรถกถาภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาอฏฺกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. ธมฺมปทฏฺกถา (ปโม ภาโค – อฏฺโม ภาโค). กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553.
__________. คัมภีร์ปทรูปสิทธิแปลและอธิบาย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2540.
ตารานาถะ, ศัพทัสโตมมหานิธิ. พาราณสี: โรงพิมพ์เจาขัมภา, 2511.
พระกัจจายนะ. กจฺจายนพฺยากรณํ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิริยะพัฒนาการพิมพ์, 2540.
พระธัมมานันทะ. เนตติหารัตถทีปนี อุปจาร และ นย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2533.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11, กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด, 2551.
พระพุทธัปปิยะ. ปทรูปสิทฺธิ. ฉบับสฺยามรฏฺเ ลำปางนคเร ท่ามะโออาราเม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา, 2543.
พระมหาเวทย์ วรญฺญู. ปทรูปสิทธิเบื้องต้นเล่ม. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, 2535.
พระมหาสมปอง มุทิโต. อภิธานวรรณนา. กรุงเทพมหานคร: ประยูรวงศ์ปริ้นติ้ง จำกัด, 2547.
พระโมคคัลลานเถระ. โมคฺคลฺลานพฺยากรณํ ฉบับท่ามะโออาราเม. ลำปาง: วัดท่ามะโอ, 2521.
พระอัคควังสเถระ. สทฺทนีติปกรณํ สุตฺตมาลา ฉบับ ภูมิพโลภิกฺขุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มูลนิธิภูมิพโล ภิกฺขุ, 2521.
พระวิสุทธาจารมหาเถระ, ธาตวัตถสังคหปาฐนิสสยะ. แปลเรียบเรียงโดย พระราชปริยัติโมลี (อุปสโม) และคณะ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
แม่กองบาลีสนามหลวง. เรื่องสอบบาลีของสนามหลวงแผนกบาลี พ.ศ.2550.กรุงเทพมหานคร: อาทรการพิมพ์, 2550.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2550.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา. กรุงเทพมหานคร: สำนัก พิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526.
ศรรววรรมัน. กาตนฺตฺรวฺยากรณมฺ. ปริวรรตและแปลโดย พระมหาสุรชัย วราสโภ. กรุงเทพมหานคร: ไทยรายวันการพิมพ์, 2546.
DAW MYA TIN, Dhammapada Verses & Stories. Rangoon: Burma Pitaka Association, 1986.
Eugene Watson Burlingame, Buddhist Legends. Chippenham, Wiltshire, Uk Antony Rowe Ltd, 1990.
K. Sri Dhammananda, The Dhammapada. Malaysia: Buddhist Missionary Society Buddhist Vihara, 1992.