จารึกแม่บุญตะวันออก : ความเคลื่อนไหวทางประวัติศาสตร์ พระเจ้าราเชนทรวรมัน ที่ 2

Main Article Content

ชัยณรงค์ กลิ่นน้อง
พระมหาปราโมทย์ แก้วนา

บทคัดย่อ

บทความนี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนทางประวัติศาสตร์ของพระเจ้าราเชนทรวรมัน ที่ 2 โดยใช้กลุ่มข้อมูล คือ จารึกแม่บุญตะวันออก ซึ่งเป็นจารึกที่บันทึกประวัติศาสตร์ในสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมัน ที่ 2 ในด้านการเมืองการปกครอง ศาสนาและความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม ในด้านการเมืองการปกครอง จารึกแม่บุญตะวันออกบันทึกประวัติและลำดับวงศ์ของพระเจ้าราเชนทรวรมัน ที่ 2 ยืนยันความชอบธรรมที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการแผ่ขยายอาณาจักรและการปกครองผู้คนให้อยู่ในอำนาจ ในด้านศาสนาและความเชื่อ ศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะไศวนิกายเป็นความเชื่อหลักในยุคสมัยนี้ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องตรีมูรติ ความเชื่อเรื่องศักติ ความเชื่อในเรื่องพระศรีหรือพระลักษมี ปรัชญาศาสนาพราหมณ์ และมีการกล่าวถึงศาสนาพุทธด้วย ในด้านประเพณีและวัฒนธรรม เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์เป็นหลัก นอกจากนี้ยังพบว่ามีวัฒนธรรมการใช้กระจกเงาในราชสำนักอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มเลศวร ภัฏฏจารยะ. ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม. แปลโดย หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง,2547.
กรมศิลปากร. จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 อักษรขอมพุทธศตวรรษที่ 15-16. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529.
. ประวัติศาสตร์-โบราณคดี กัมพูชา. กรุงเทพฯ : บริษัทประชาชน, 2536. จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย 4 สิงหาคม 2536.
จำลอง สารพัดนึก.ประวัติวรรณคดีสันสกฤต 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2546.
ชะเอม แก้วคล้าย. จารึกปราสาทแปรรูป. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2543.
ดี.อี.จี. ฮอลล์, ประวัติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : สุวรรณภูมิ-ภาคพิสดาร. แปลจาก A history of South-East Asia. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้า, 2549.
นิยะดา เหล่าสุนทร. วัฒนาการของแบบเรียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ลายคำ, 2552.
ธิดา สาระยา. อาณาจักรเจนละ ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ. กรุงเทพฯ : พิฆเณศพริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์, 2546.
ฟื้น ดอกบัว. ปวงปรัชญาอินเดีย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศยาม, 2555.
มาดแลน จิโต. ประวัติเมืองพระนครของขอม. แปลโดย หม่อมเจ้าศุภัทรดิศ ดิศกุล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : มติชน, 2552.
ยอร์ช เซเดส์. เมืองพระนคร นครวัด นครธม. แปลจาก Angkor An Introduction. แปลโดย ปราณี วงศ์เทศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มติชน, 2536.
ศุภมาศ เชยศักดิ์. “เทวีมาหาตมยะ : การบูชาสรรเสริญเทวีในวรรณคดีสันสกฤต”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ. 2000. กรุงเทพฯ : สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2535.
อุไรศรี วรศะริน. ประชุมอรรถบทเขมร : รวมบทความวิชาการของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อุไรศรี วรศะริน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.
Cœdès, George. Inscriptions du Cambodge. vol.V. Hanoi: Imprimarie d’ Extrême-
Orient, 1966.
. Inscriptions du Cambodge. vol.VIII. Hanoi : Imprimarie d’ Extrême-Orient, 1966.
.Les Inscriptions deBat Cum (Cambodge). Journal asiatique, 10 (12),1908,213-251.
Dutt, Nalinaksha. Buddhist Sects in India. Delhi : Motilal Banarsidass, 1978.
Finot, L. Inscriptions d’Angkor. XXV. Hanoi: Imprimarie d’ Extrême-Orient, 1925.
Higham, Charles F.W.Encyclopedia of ancient Asian civilizations. New York : Facts On File, 2004.
Macdonell, Arthur Anthony. A History of Sanskrit Literature. New York : D. Appleton and Company, 1900.
Majumdar, R.C. Inscription Of Kambuja. Calcutta : The Asiatic Society, 1953.
Sharan, Mahesh Kumar. Select Cambodian Inscriptions (The Mebon And Pre Rup Inscriptions of Rajendravarman II). New Delhi : S.N. Publications, 1981.
. Studies in Sanskrit inscriptions of ancient Cambodia. New Delhi : Abhinav Publications, 1974.