การรอดพ้นอบายภูมิตามหลักพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีเป้าหมายวิเคราะห์การรอดพ้นอบายภูมิ 4 ตามหลักการในคัมภีร์พุทธศาสนา อบายภูมิ หมายถึง ถิ่น, ดินแดน, ภูมิ หรือสถานที่ อันเป็นโลกที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์ผู้กระทำอกุศลกรรมบถ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ไม่อยู่ในศีล เป็นมิจฉาทิฎฐิ มักโกรธ อาฆาตพยาบาท ปองร้ายผู้อื่น มีจิตริษยา จะไปถือกำเนิดอยู่อาศัย อันมีลักษณะปราศจากความเจริญ ไม่มีการพัฒนา เต็มไปด้วยความเดือดร้อน ความทุกข์ ปราศจากความยินดี น่ากลัว ปราศจากการเรียนรู้ ทนอยู่อยากต้องรับโทษสถานเดียว มี 4 ภูมิ คือ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก การรอดพ้น คือ การไม่ไปเกิดในอบายภูมิ การรอดพ้นอบายภูมิ รอดพ้นได้ด้วยมรรคญาณ ที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา เพื่อบรรลุมรรค ผล นิพพาน จนได้ญาณลำดับขั้นที่ 14 ในญาณ 16 ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา เพื่อการรอดพ้นอบายภูมินั้น เป็นการประหาณกิเลสด้วยปฐมมรรค คือโสดาปัตติมรรคญาณทำหน้าที่ประหาณ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส (มิจฉาทิฏฐิ และวิจิกิจฉา) ได้อย่างเด็ดขาด ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจนสำเร็จญาณนี้ชื่อว่าเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันรอดพ้นอบายภูมิได้อย่างเด็ดขาด
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระญาลิไท. ไตรภูมิพระร่วง ฉบับตรวจสอบชำระใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากรจัดพิมพ์, 2526.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง. พิมพ์ครั้งที่ 63. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์สวย จำกัด, 2546.
พระธรรมปฎก (ป.อ.ปย ุตฺโต).พจนานุกรมพ ุทธศาสนฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9 .กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2543.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,โรงพิมพ์วิญญาณ, 2532.
.ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหนคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และโรงพิมพ์วิญญาณ, 2539.
.พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เนื่องในมหามงคลสมัย ฉลองสิริราชสมบัติ 50 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2539
.พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ, 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
.วิสุทฺธิมคฺคปกรณ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ ,2539.
มหามกุฏราชวิทยาลัย . พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2534.
. อภิธมฺมตฺถวิภาวินิยา ปญฺจิกา นาม อตฺถโยชนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2537.
.อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิยา สห อภิธมฺมตฺถวิภาวินีนามอภิธมฺมตฺถสงฺคหฏีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร, 2538.