การบรรลุธรรมในพุทธศาสนามหายานกรณีคำสอนของพระโพธิธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้กล่าวถึงหลักการบรรลุธรรมของนิกายธยานซึ่งเป็นกรณีศึกษาพระโพธิธรรม ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและเผยแผ่หลักคำสอนการบรรลุธรรมแบบฉับพลัน หลักคำสอนของพระโพธิธรรมได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของปรัชญามาธยิกะและโยคาจาร ทั้งสองนิกายถือแก่นสอนสำคัญคือ ความว่างเปล่าและสิ่งที่เป็นจริงแท้สูงสุดคือ จิตเท่านั้น การรู้ความเป็นจริงเป็นเรื่องของจิตซึ่งเป็นลักษณะของความรู้ไม่เกี่ยวข้องกับหลักการทางศีลธธรรมจริยธรรมทั้งของปัจเจกชนหรือสังคมใด ๆ การบรรลุธรรมเป็นเรื่องปัจเจกบุคคลไม่ใช่เรื่องสังคม เนื่องจากเรื่องสังคมเป็นเรื่องของโครงสร้างทางจิตที่ถูกปรุงแต่งซึ่งต้องคำนึงถึงกฏเกณฑ์ การวัดประเมิน ซึ่งนำไปสู่ภาวะปรุงแต่งของจิตไม่ว่ากรณีใด ๆ พระพุทธศาสนาแท้จริงไม่ให้ความสนใจเรื่องสังคมมากนักแต่ให้ความสนใจในเรื่องการดับทุกข์ที่เกิดขึ้นกับจิตในปัจจุบันเท่านั้น เมื่อจิตได้บรรลุการรู้แจ้งสมบูรณ์แล้วจากนั้นความเป็นไปทางสังคมก็จะอยู่ในภาวะของความสงบสุขเอง การบรรลุธรรมแบบฉับพลันเกิดจากการพิจารณาเห็นสภาวะความเป็นจริงคือสุญญตาและความเป็นหนึ่งเดียวของจิต จนจิตเกิดการปล่อยวางจากความทุกข์และกิเลสเครื่องปรุงแต่งลวงจิตไม่ให้เห็นความจริงแท้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
ดังตฤณ. เซน ในการทำงานอย่างเซียน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ฮาวฟาร์, ๒๕๕๖.
ติช นัท ฮันห์. กุญแจเซน. (พจนา จันทรสันติ แปล). พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๕๑.
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. ประทีปแห่งเซ็น. พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพมหานคร: เซ็นเตอร์ พับลิคชั่น, ๒๕๒๕.
โทมิโอ ฮิราอิ. เผชิญชีวิตด้วยเทคนิคเซ็น. แปลโดย วเนช. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๓๒.
พุทธทาสภิกขุ. สูตรของเว่ยหล่าง. กรุงเทพมหานคร: สนพ.สุขภาพใจ, ๒๕๔๗.
ภิกษุณีชุนโด อาโอยาม่า. งามอย่างเชน เมล็ดพันธุแห่งธรรม จากมุมมองของผู้หญิง. กรุงเทพมหานคร: หจก. สามลดา, ๒๕๔๙.
รักษ์ธรรม ศีลาบริสุทธิ์, ตั๊กม้อ มหาโพธิธรรมแห่งเซน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: ปราชญ์, ๒๕๕๔.
ว.วชิรเมธี. ชาล้นถ้วย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ปราณ, ๒๕๕๕.
สุมาลี มหณรงค์ชัย. พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม, ๒๕๔๖.
Daisetz T. Suzuki. Essay in Zen Buddhism, first series. London: Rider, 1985.
_______. An Introduction to Zen Buddhism. London: Anchor Press, 1972.