ความสัมพันธ์ระหว่างอินทรีย์ กับพละ ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวน

Main Article Content

บุณชญา วิวิธขจร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีความประสงค์เพื่อจะนำเสนอว่า อินทรีย์ ๕ กับพละ ๕ นั้น มีลักษณะอย่างไร ธรรมทั้ง ๒ มีองค์ธรรมเหมือนกัน ทำไมจึงมีชื่อต่างกัน และธรรมทั้ง ๒ นั้น นำมาใช้ในการปฏิบัติธรรมได้อย่างไร โดยพิจารณาจากองค์ธรรม  คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญา โดยหมวดหนึ่งเรียกว่า อินทรีย์ คือเพื่อมุ่งความเป็นใหญ่เหนืออกุศลธรรมทั้งหลายที่ตรงข้ามกัน อีกหมวดหนึ่งเรียกว่า พละ โดยมุ่งถึงเป็นกำลังหรือเป็นพลังในอันที่จะกำจัดกิเลส หรืออกุศลธรรมที่ตรงกันข้ามอินทรีย์คือศรัทธา ศรัทธานั้นเป็นใหญ่เหนือความไม่เชื่อ พละ คือ ศรัทธานั้นเป็นพลังที่ปราบปรามความไม่เชื่อลงได้ กำจัดความไม่เชื่อได้ อินทรีย์ คือ วิริยะความเพียรเป็นใหญ่เหนือความเกียจคร้าน พละกำลัง คือ ความเพียร เป็นพลัง เป็นกำลังสำหรับปราบปรามความเกียจคร้าน อินทรีย์ คือ สติเป็นใหญ่เหนือความหลงลืมสติ ความเผลอสติ พละกำลัง คือ สติเป็นเครื่องปราบปรามความหลงลืมสติ อินทรีย์ คือ สมาธิเป็นใหญ่เหนือความฟุ้งซ่านแห่งจิต พละกำลัง คือสมาธิเป็นเครื่องปราบปรามความฟุ้งซ่านแห่งจิต อินทรีย์ คือ ปัญญาเป็นเครื่องเป็นใหญ่เหนืออวิชชาความไม่รู้ โมหะความหลงถือเอาผิด พละกำลัง คือ ปัญญาเป็นเครื่องปราบปรามทำลายอวิชชาโมหะ เพราะฉะนั้น จึงต้องแบ่งเป็น ๒ หมวด เป็นอินทรีย์๑หมวด  เป็นพละ๑หมวด ธรรมะทั้งคู่นี้จึงมีคำอธิบายไว้ว่า ต่างอาศัยซึ่งกันและกัน อินทรีย์ คือ ศรัทธาก็อาศัยพละ คือ ศรัทธา พละ คือศรัทธาก็ต้องอาศัยอินทรีย์ คือ ศรัทธา อีก ๔ ข้อ ก็เช่นเดียวกัน และได้ตรัสอุปมาไว้ว่าทำไมจึงต้องแยกออกเป็น ๒ หมวด ดังอุปมาว่าด้วยแม่น้ำสายเดียวที่ไหลไปทางทิศตะวันออก และได้มีเกาะ ๆ หนึ่งอยู่กลางแม่น้ำ เมื่อน้ำไหลไปถึงเกาะนั้นก็แยกเป็นสองสาย เมื่อสุดเกาะนั้นแล้วก็รวมเป็นสายเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๙.
จำรูญ ธรรมดา. แปล. วิปัสสนาชุนี. พระมหาสีสยาดอ. โสภณมหาเถระ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๔๐.
พระคันธสาราภิวงศ์. โพธิปักขิยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: บุญสิริการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๕๐.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙). คู่มือสอบอารมณ์กรรมฐาน. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๐.