ภาพสะท้อนวรรณศิลป์จากจารึกแม่บุญตะวันออก

Main Article Content

สุพิชฌาย์ พรพิชณงค์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนทางวรรณศิลป์ของพระเจ้าราเชนทร วรมัน ที่ 2 โดยใช้กลุ่มข้อมูล คือ จารึกแม่บุญตะวันออก ซึ่งเป็นจารึกที่บันทึกประวัติศาสตร์ทางวรรณศิลป์ในสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมัน ที่ 2 ในด้านการเมืองการปกครอง ศาสนาและความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม ในด้านการเมืองการปกครอง จารึกแม่บุญตะวันออกบันทึกประวัติและลำดับวงศ์ของพระเจ้าราเชนทรวรมัน ที่ 2 ยืนยันความชอบธรรมที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการแผ่ขยายอาณาจักรและการปกครองผู้คนให้อยู่ในอำนาจ ในด้านศาสนาและความเชื่อ ศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะไศวนิกายเป็นความเชื่อหลักในยุคสมัยนี้ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องตรีมูรติ ความเชื่อเรื่องศักติ ความเชื่อในเรื่องพระศรีหรือพระลักษมี ปรัชญาศาสนาพราหมณ์ และมีการกล่าวถึงศาสนาพุทธด้วย ในด้านประเพณีและวัฒนธรรม เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์เป็นหลัก นอกจากนี้ยังพบว่ามีวัฒนธรรมการใช้กระจกเงาในราชสำนักอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

รพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. ผู้แปล. “สถานภาพปัจจุบันของงานวิจัยเกี่ยวกับจารึกภาษาสันสกฤตในกัมพูชา ข้อสังเกตบางประการ” โบราณคดี. ฉบับพิเศษ ออกในวาระครบรอบ 40 ปี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2537.
กุสุมา รักษมณี. วิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 2. แก้ไขและเพิ่มเติม.กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.