ศึกษาหลักธรรมและการปฏิบัติวิปัสสนาในกัลยาณมิตตสูตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมในกัลยาณมิตตสูตร 2) เพื่อศึกษาหลักการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกัลยาณมิตตสูตร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า
กัลป์ยาณมิตตสูตร เป็นพระสูตรที่รวบรวมไว้ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ซึ่งเป็น พระสูตรที่จัดอยู่ในสุริยเปยยาลวรรค โดยมีหลักธรรมที่เป็นสาระสำคัญที่ทรงแสดงไว้ใน กัลยาณมิตตสูตร คือ การพิจารณาหลักธรรมที่เป็นเหตุในอริยมรรคมีองค์ 8 ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญขึ้น หากผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเจริญให้มากแล้วย่อมกำจัดราคะ โมหะ และโทสะได้เป็นที่สุด
วิปัสสนาภาวนา เป็นการปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งในอริยสัจ 4 เป็นการปฏิบัติตามหลักที่ปรากฏในสติปัฏฐานสูตรอันได้แก่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งหลักการปฏิบัติดังกล่าวมีปรากฏยืนยันในคัมภีร์อรรถกถาว่า “อนึ่งขึ้นชื่อว่าภาวนาที่ไม่เนื่องด้วยกาย เวทนา จิต หรือสภาวธรรมอย่างใด อย่างหนึ่งย่อมไม่มี ดังนั้นพึงทราบว่า แม้ท่านเหล่านั้นได้ล่วงพ้นความโศกและคร่ำครวญด้วยทางสายนี้”
การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาที่ปรากฏในกัลยาณมิตตสูตร หลักธรรมที่สำคัญ คือ การอาศัยกัลยาณมิตรหรือคบสัตบุรุษเป็นบุพภาคนำไปสู่อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น โดยอาศัยหลักธรรมที่ในกัลยาณมิตรสูตรที่เป็นคุณสมบัติที่กัลยาณมิตรหรือครูผู้สอนกรรมฐานพึงกระทำคือ กัลยาณมิตรธรรม 7 ประการ ได้แก่ ความน่ารัก น่าเคารพ น่ายกย่อง รู้จักพูดให้ได้ผล อดทนต่อถ้อยคำ แถลงเรื่องล้ำลึกได้ และไม่ชักนำไปในทางเสื่อม ซึ่งเป็นเครื่องคอยช่วยเหลือเกื้อกูลให้ การทำหน้าที่ความเป็นกัลยาณมิตรให้สมบูรณ์แบบและเป็นพื้นฐานต่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
นอกจากหลักธรรมในอริยมรรคและกัลยาณธรรมแล้ว ยังมีหลักธรรมที่ช่วยสนับสนุนให้บรรลุธรรม ได้แก่ สัมปทา วุฒิธรรม ไตรสิกขา กุศลกรรมบถ 10 อิทธิบาท ๔ สัมมัปธาน 4 พรหมวิหาร โพชฌงค์ 7 และวิริยะ ซึ่งหลักธรรมดังกล่าวเป็นเครื่องช่วยให้ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาพัฒนาการปฏิบัติให้เจริญงอกงามและพัฒนาอินทรีย์ให้แก่กล้าจนบรรลุมรรค ผล และนิพพาน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ - เพิ่มเติม ช่วงที่ ๑). พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด, ๒๕๕๑.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
วศิน อินทสระ. อริยสัจ ๔. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมดา ๑๑๓, ๒๕๔๘.