การละอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

Main Article Content

อุทัย สติมั่น
พระมหาฉลอง ชยธมฺโม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้  เพื่อศึกษาอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาหลักการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา และ เพื่อศึกษาการละอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า


  1. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ คือ ชื่อของกิเลสอย่างหยาบที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี
    มีลักษณะรบกวนจิตใจให้ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด เกิดความขุ่นข้องหมองใจ โดยมีความโกรธและความโลภเป็นสาเหตุ (โทสมูลจิตและโลภมูลจิต)

  2. การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาสามารถทำลายหรือละอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ได้ เพราะกิเลสตัวนี้จะปรากฏชัดแก่จิตเมื่อเจริญสติ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาคือผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน 4
    จะอาศัยธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การใช้สติตามกำหนดจดจ่อพิจารณาอย่างไม่ขาดสาย

  3. การพิจารณาในธรรมารมณ์ที่เกิดกับรูปนามเป็นเครื่องทำลายหรือละอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ 1) การละชั่วขณะ (ตทังคปหาน) เป็นการละด้วยกำลังของสมาธิตั้งแต่ขั้นต้น (ขณิกสมาธิ) ขึ้นไป ซึ่งกำจัดหรือละนิวรณ์นี้ได้ต่อเมื่อเวลาจิตเกิดสมาธิเท่านั้น 2) วิขัมภนปหาน ละโดยการข่มไว้ และ 3) สมุทเฉทปหาน การละโดยสิ้นเชิง เป็นการละด้วยกำลังของวิปัสสนาบรรลุโลกุตรธรรมขั้นอนาคามีมรรคซึ่งกิเลสขั้นนิวรณ์จะไม่เกิดขึ้นในจิตอีก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช).พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ คำวัด.กรุงเทพมหานคร: สถาบันบันลือธรรม, 2551.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก าณสิทฺธิ).วิปัสสนากรรมฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประยูรวงศ์พริ้นติ้งจำกัด, 2554.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปลชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2541.