ศึกษาเหตุเกิดและเหตุดับรูปขันธ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

Main Article Content

พระมหาแฝด จนฺทโก

บทคัดย่อ

ารศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษารูปขันธ์ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาเหตุเกิดและเหตุดับของรูปขันธ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวมสรุปวิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยาย ตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาพบว่า


รูปขันธ์ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทมี ๒๘ ชนิด แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ ๑. มหาภูตรูป รูปใหญ่ ๔  ๒. อุปาทายรูป รูปอาศัยรูปใหญ่ ๒๔ 


การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐานสูตรในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท มีสติ ให้ระลึกรู้อยู่ในรูปนามปัจจุบันมีปัญญาเห็นแจ้งในไตรลักษณ์ วิธีปฏิบัติคือมีสติกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติ จะทำให้ผู้ปฏิบัติภาวนารู้จักและเข้าใจตนเองได้ดียิ่งขึ้น สติปัญญาที่เจริญขึ้นสามารถใช้ดำรงชีวิตและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จได้ บรรลุมรรคผลได้


กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาเป็นเหตุเกิดของรูปขันธ์ ซึ่งมีมูลเหตุมาจากอวิชชา กล่าวคือรูปขันธ์เกิดจากนาม อีกอย่างกรรม จิต อุตุ อาหารก็เป็นเหตุให้รูปเกิด กรรม จิต อุตุ เป็นธรรมในอดีตชาติจนถึงปฏิสนธิ นับแต่ปฏิสนธิมาก็มีอาหารที่บำรุงเลี้ยงรูปให้ดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน การดับเหตุเกิดแห่งตัณหาได้ก็คือการดับเหตุดับรูปขันธ์นั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) รจนา,วิปัสสนานัย เล่ม 2, พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.9.M.A.Ph.D.),ตรวจชำระ, พระคันธสาราภิวงค์ แปลและเรียบเรียง,(กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2555.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.