หลักปฏิบัติกรรมฐานที่เป็นลักษณะเฉพาะของการบรรลุธรรม ของพระสาวกในสมัยพระพุทธเจ้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะของการแสดงธรรมมีการสนทนาธรรมเป็นต้นที่ส่งผลต่อการบรรลุธรรมตลอดถึงกรรมฐานสายสมถะและวิปัสสนาเปรียบเหมือนเรือและกำลังกายที่เป็นเครื่องมือหลักและเป็นสาเหตุให้คนบรรลุมรรค ผล นิพพานได้
พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมคำสอนอันเป็นวิชาความรู้ที่มุ่งการแก้ไขปัญหาชีวิตและพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น เป็นศาสนาที่เชื่อในความสามารถของคนว่ามีศักยภาพเพียงพอโดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจใด ๆ ภายนอก ในเบื้องต้นของการเผยแผ่ศาสนาให้รู้แจ้งตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อนำ ไปปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาชีวิตนั้น ต้องมีโยคีผู้ปฏิบัติและเครื่องมือในการพัฒนาตนตามที่ได้ศึกษาจากหลักธรรมคำสอนอันจะทำให้เกิดผลลัพธ์คือมรรคผล ซึ่งลักษณะเฉพาะของการบรรลุธรรมของพระสาวกในสมัยพระพุทธเจ้ามีการสนทนาธรรมเป็นต้นนั้น ว่าโดยสรุปคือเครื่องมือในการปฏิบัติ ธรรมเพื่อบรรลุมรรคผลในพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 2 สาย คือ สมถยานิก ผู้เจริญสมถะ เป็นหลัก และวิปัสสนายานิก ผู้เจริญวิปัสสนาเป็นหลัก โยคีผู้ปฏิบัติเริ่มปฏิบัติสมถะจนได้ทุติยฌานจะส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในวิปัสสนาอย่างรวดเร็วด้วยกำลังของฌานสมาธิ คุณลักษณะดังกล่าวนี้พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเหมือนคนอาศัยเรือหรือแพเป็นต้นข้ามฝั่งได้อย่างไม่ลำบาก ส่วนโยคีผู้ปฏิบัติที่เจริญวิปัสสนาล้วน ๆ ทรงเปรียบเหมือนคนว่ายน้ำข้ามฝั่งด้วยกำลัง แขนของตนซึ่งต้องใช้กำลังคือความเพียรเป็นอย่างมาก ดังนั้น ยานทั้ง 2 สายนี้มีสถานีที่เป็นปลายทางคือนิพพานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการ ศึกษาโดยวิธีสนทนาธรรมเป็นต้นแล้วนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาชีวิตคือการพัฒนาจิตสู่การรู้แจ้ง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระธรรมปาลเถระ. ปรมตฺถมญฺชูสา นาม วิสุทฺธิมคฺคมหาฏีกา ปฐโม ภาโค, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, พ.ศ. 2538.
พระพุทธโฆสเถระ. วิสุทฺธิมคฺคสฺส นาม ปกรณวิเสสสฺส ทุติโย ภาโค, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, พ.ศ. 2539.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: บริษัท เกษมอนันต์ พริ้นติ้ง จำกัด, พ.ศ. 2548.
พระมหากัจจายนเถระ. เนตฺติ-เปฏโกปเทสปกรณํ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, พ.ศ. 2540.
พระมหาโกมล กมโล. พระมงคลปริตรตามแนวคัมภีร์สัททาวิเสส ชุด รู้ศัพท์รู้ธรรม, กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, พ.ศ. 2559.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
______________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
______________. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอัฏฐกถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, 2539.
______________. ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฏีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ,2539.
______________. ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, 2539 – 2543.
วศิน อินทสระ. สวรรค์นรก-บุญบาป ในพระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เม็ดทราย, พ.ศ. 2545.
สำราญ ผลดี. สุขง่าย ๆ ไม่ใช่เรื่องยาก, กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี เอ็น เค แอนด์ สกายพริ้นติ้งจำกัด, พ.ศ. 2555.
อัญมณี. สวดมนต์ล้างพิษ, พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพมหานคร: ไฮเทค พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2555.
อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสต์. พระพุทธศาสนามหายาน, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, พ.ศ. 2539.