พระพิฆเนศ: แนวคิด พัฒนาการ และวิวัฒนาการการผสมผสานทางความเชื่อ ในสังคมไทย

Main Article Content

ศิลปะ หินไชยศรี
ไวชาลี หินไชยศรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องพระพิฆเนศ: แนวคิด พัฒนาการ วิวัฒนาการการผสมผสานความเชื่อในสังคมไทย เป็นการวิจัยแบบประยุกต์ คือผสมผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิด พัฒนาการ วิวัฒนาการของพระพิฆเนศใน 2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงและการผสมผสานทางความเชื่อเกี่ยวกับพระพิฆเนศในสังคมไทย  และ 3. เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อตามแนวพระพุทธศาสนาของสังคมไทย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างรูปเคารพที่ไม่ได้มาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาจริงๆ ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วไปในสังคมไทยปัจจุบัน โดยใช้วิธีเดียวกับวิธีที่ใช้ในวัตถุประสงค์ประการแรก ผลการวิจัยพบว่า ด้านแนวคิดเกี่ยวกับพระพิฆเนศของสังคมไทยให้ความสำคัญว่าพระพิฆเนศเป็นเทพแห่งการขจัดอุปสรรค และเป็นเทพที่พึ่งทางใจของผู้ประสงค์จะพ้นจากทุกข์มากกว่าแนวคิดพระพิฆเนศเป็นเทพแห่งโชคลาภ และเป็นเทพแห่งศิลปวิทยา  ซึ่งผู้ให้ข้อมูลให้ความสำคัญค่อนข้างน้อย   ด้านการพัฒนาการและวิวัฒนาการการเคารพนับถือพระพิฆเนศเพราะเห็นว่าผู้นำให้ความเคารพนับถือจึงเคารพนับถือหรือประพฤติปฏิบัติตาม และเห็นว่าการเคารพนับถือพระพิฆเนศมีมาตั้งแต่สมัยเริ่มประวัติศาสตร์ชาติไทย ส่วนความเห็นเกี่ยวกับหน่วยงานภาครัฐของไทยบางหน่วยงานได้นำรูปพระพิฆเนศมาทำเป็นตราสัญญลักษณ์ เพื่อแสดงความเคารพยกย่องตามผู้ให้ข้อมูลให้ความสำคัญค่อนข้างน้อย  ด้านการผสมผสานทางความเชื่อในสังคมไทย ผู้ให้ข้อมูลให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างรูปพระพิฆเนศไว้เคารพบูชา ไว้ให้เช่าเพื่อการหาทุนสร้างสาธารณประโยชน์ ศาสนสถานหรือเพื่อการท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทยมีมากขึ้นทุกวันอย่างเห็นได้ชัดเป็นอันดับต้นๆ และเห็นว่า เหล่าศิลปินไทยแทบทุกแขนงต่างให้ความเคารพนับถือบูชาพระพิฆเนศ ปัจจุบันความเชื่อเรื่องเทพหรือเทวดาทั้งแบบพราหมณ์หรือฮินดูและแบบพุทธของสังคมไทยยากที่จะแยกออกจากกันและในการบำเพ็ญกุศลพิธีหรือบุญพิธี มักมีเรื่องเทพ/เทวดาเข้าเกี่ยวข้องเสมอ เช่นการสวดอัญเชิญเทพหรือเทวดามาสถิตย์ในมณฑลพิธีเป็นต้น เป็นเรื่องสำคัญตามลำดับ  และด้านผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อตามแนวพระพุทธศาสนาของสังคมไทย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างรูปเคารพที่ไม่ได้มาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาจริงๆ ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วไปในสังคมไทยปัจจุบัน ผู้ให้ข้อมูลให้ความสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงความตามแนวพระพุทธศาสนาของสังคมไทยในเรื่อง ไม่ว่าพระพุทธเจ้าหรือศาสดาของศาสนาอื่นๆ ทุกท่านล้วนสอนคนให้เป็นคนดีเป็นอันดับต้นๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิชพงศ์ ศรีมกุฏพันธุ์,ประภัทร์ แสงจันทร์.“พฤติกรรมและปัจจัยการบูชาพระพิฆเนศวรของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์”, 2554.
ประสพชัย พสุนนท์ และคณะ. “พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเช่าบูชาพระเครื่อง”. ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารและการจัดการ วิจัยครั้งที่ 2 ธรรมะกับนักวิชาการ.มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ 2. 2552.
สุรชัย ภัทรดิษฐ์. “ พระพิฆเนศ: การผสมกลมกลืนรูปแบบประติมากรรม ความเชื่อ, ประเพณี, พิธีกรรมในสังคมไทย”. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2554.
กิตติ วัฒนะมหาตม์. คู่มือการบูชาเทพ. พิมพ์ครั้งที่ 4, สร้างสรรค์บุ๊คส์, กรุงเทพมหานคร, 2547.
พระยาสัจจาภิรมย์. ตรีเทวปกรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. อมรินทร์, กรุงเทพมหานคร, 2548.
คเณศ์พร กิจชัยพร และสุชาติ กิจชัยพร. พระพิฆเนศวร: เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ. การุณการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 2547.
ดนัย ไชยโยธา. ลัทธิศาสนาและระบบความเชื่อกับประเพณีนิยมในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ. โอเดียนสโตร์. 2538.
สุชาติ เถาทอง. ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นภาคตะวันออก. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. 2544.
ยศ สันตสมบัติ. มนุษย์กับวัฒนธรรม. สำนักพิมพ์ :กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2548.
มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระบาทสมเด็จพระ. เทพเจ้าและสิ่งที่น่ารู้พระราชนิพนธ์ ร.6. กรุงเทพ:ศรีปัญญา.2556.
พระยาสัจจาภิรมย์ ฯ เทวกำเนิด พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร. อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง. 2556.
พลาดิสัย สิทธิธัญกิจ ประวัติศาสตร์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์สุขภาพใจ. กรุงเทพฯ. 2547.
ประสพชัย พสุนนท์, กานติมา วิริยวุฒิไกร “ปัจจัยและพฤติกรรมการบูชาพระพิฆเนศวรของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี”. ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย. มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 20 สงขลา, 2553.
คเณศ์พร กิจชัยพรและสุชาติ กิจชัยพร: พระพิฆเนศวร: เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ กรุงเทพฯ: การุณการพิมพ์. 2542
จารุวรรณ ธรรมวัตร. คติชาวบ้าน. กรุงเทพมหานคร: อักษรวัฒนา. 2522.
จิรัสสา คชาชีวะ. พระพิฆเนศวร์: คติความเชื่อและรูปแบบของพระพิฆเนศวรที่พบในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2531.
ศิริชัย ทรวงแสวง. ความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์กับพฤติกรรมการดำเนินธุรกิจ: กรณีศึกษากลุ่มนักธุรกิจ ของหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศศม.(เศรษฐศาสตร์การเมือง).เชียงใหม่ 2548.
กิตติ วัฒนะมหาตม์. ตรีเทวปกรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.2549.
ประสพชัย พสุนนท์ และคณะ. “การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของประกอบการร้านค้าปลีกในเขต อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี”. ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารและการจัดการวิจัย ครั้งที่ 2. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2553.
กัลยา วาณิชย์บัญชา. การใช้ SPSS FOR WINDOWS ในการวิเคราะห์ข้อมูล เวอร์ชั่น 7-10. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2544.
เบญจมาศ พลอินทร์. วรรณคดีขนบประเพณีพระราชพิธีสิบสองเดือน. พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ โอเดียนสโตร์, 2524
ทัศนีย์ ทานตวณิช. ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวประมงชายฝั่งทะเลตะวันออก, 2523.
สถาพร ศรสัจจัง. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมในพุทธศาสนา. 2533.
Yamane, T. Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row. 1967.