อุปัชฌายวัตร-สัทธิวิหาริกวัตร : แนวคิดและหลักการปฏิบัติเพื่อความ สามัคคีในหมู่สงฆ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องอุปัชฌายวัตรและสัทธิวิหาริกวัตร ในฐานเป็นแนวคิดและหลักการปฏิบัติเพื่อสร้างความกลมเกลียวในสังคมสงฆ์
จากการศึกษาพบว่า การที่พระพุทธองค์บัญญัติให้ภิกษุถืออุปัชฌายวัตรและกำหนดให้พระอุปัชฌาย์ต้องปกครองดูแลสัทธิวิหาริกนี้เป็นหลักประกันว่า กุลบุตรผู้เข้ามาบวชในพระพุทธ ศาสนาจะได้รับการศึกษาตามหลักไตรสิกขาอย่างแน่นอน การที่กำหนดให้ทั้งสองฝ่ายกระทำวัตรต่อกันก็เพื่อให้เกิดประโยชน์ คือเพื่อลดทิฏฐิมานะของศิษย์ ให้มีความเคารพยำเกรงในพระอุปัชฌาย์อันจะเป็นการง่ายในการฝึกหัดพัฒนาด้านอื่นๆ และเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ทำอุปการต่อกัน จะได้เกิดความสนิทสนมสมานสามัคคีและความอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก
อุปัชฌายวัตรและสัทธิวิหาริกวัตรมีประโยชน์ต่อสังคมสงฆ์ทั้งในภาวะปกติและในภาวะที่เกิดความขัดแย้ง กล่าวคือในภาวะปกติ การที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำอุปการะต่อกัน สิ่งที่เกิดแน่นอนคือความสมานสามัคคีอย่างแนบแน่น ระหว่างพระอุปัชฌาย์กับสัทธิวิหาริกและรวมทั้งพระภิกษุร่วมพระอุปัชฌาย์เดียวกัน หากเกิดความขัดแย้งหรือเกิดอธิกรณ์ การที่คณะสงฆ์ได้ทำอุปการะต่อกัน การแก้ปัญหาก็จะเป็นไปโดยง่าย เพราะทั้งสองฝ่ายจะมีความเคารพยำเกรงกัน บางปัญหาก็แก้ได้ เพราะเห็นแก่พระอุปัชฌาย์หรือเพราะมีความเคารพยำเกรงในพระอุปัชฌาย์ซึ่งถือว่าเป็นเสมือนผู้ให้กำเนิดในโลกแห่งพระพุทธศาสนา อุปัชฌายวัตรและสัทธิวิหาริกวัตรจึงเป็นสายสัมพันธ์เพื่อความสามัคคึในหมู่สงฆ์
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. “พฤติกรรมการบวชของคนไทย”, ในวารสารพุทธศาสนศึกษา. กรุงเทพมหา นคร : คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
ป.หลงสมบุญ. พจนานุกรม มคธ-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : เรืองปัญญา, ๒๕๔๙.
พระโมคคัลลานเถระ, คัมภีร์อภิธานวรรณนา. พระมหาสมปอง มุทิโต แปลและเรียบเรียง. พิมพ์ครั้ง ที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : บริษัทประยูรพริ้นท์ติ้ง จำกัด, ๒๕๔๗.
พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). ทิศทางการศึกษาของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๑.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). สอนนาค-สอนฑิต ชีวิตพระ ชีวิตชาวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพ มหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๔๒.
-------------. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพมหานคร : โรง พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
-------------. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
-------------. สถานการณ์พระพุทธศาสนา กระแสไสยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๓๙.
พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน). คู่มือพระอุปัชฌาย์. พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพมหานคร : สำนัก พิมพ์ธรรมเมธี : สหายพัฒนาการการพิมพ์, ๒๕๕๔.