ศึกษาวิเคราะห์สตรีในพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

บุญช่วย ศรีเปรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติของสตรีในพระพุทธศาสนาเถรวาท  เพื่อวิเคราะห์บทบาทและความสำคัญของสตรีในพระพุทธศาสนาเถรวาท  เพื่อนำรูปแบบที่ดีของสตรีในพระพุทธศาสนาเถรวาทมาประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำวิจัยใช้เอกสารชั้นปฐมภูมิเป็นหลัก และจากหนังสือ บทความวิชาการ เป็นต้น แล้วตรวจความถูกต้องของข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


                ผลการวิจัย พบว่า ประวัติความเป็นมาของสตรีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท มีชาติ ตระกูล อุปนิสัย การบรรลุธรรมแตกต่างกัน บทบาทของสตรีกับครอบครัวพบว่า บทบาทสำคัญของธิดานั้นต้องมีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดา มารดา ทำตามโอวาท ช่วยเหลือการงานต่างๆ ให้ท่านดำรงอยู่ในไตรสิกขา บทบาทของภรรยาพบว่า วธกภริยา โจรีภริยา อัยยาภริยา ล้วนแต่เป็นคนทุศีล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงทุคติ ส่วนมาตาภริยา ภคินีภริยา สขีภริยา ทาสีภริยา เป็นภรรยาที่ดีตั้งอยู่ในศีลธรรม  เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  บทบาทของสะใภ้พบว่า ลูกสะใภ้มีหน้าที่สำคัญโดยทำตามโอวาทของบิดามารดา บทบาทของมารดาพบว่า มารดา บิดา มีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรธิดาดุจพระพรหม เป็นบุรพาจารย์ ให้ความรักและความยุติธรรมต่อบุตร ธิดา บทบาทของอุบาสิกาต้องเข้าถึงพระรัตนตรัยรักษาศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีลอุโบสถ บทบาทสำคัญของสามเณรีคือรักษาธรรมวินัย สมาทานรักษาศีล ๑๐ บทบาทสำคัญของสิกขมานาคือการฝึกตนเตรียมพร้อมในการอุปสมบท  ภิกษุณีมีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษาปฏิบัติธรรม การบรรลุธรรม และการเผยแผ่พุทธธรรม


                องค์ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์สตรีในพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า รูปแบบที่ดีของสตรีในพุทธศาสนาเถรวาทที่นำมาประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน คือ ๑)รูปแบบที่ดีของนางวิสาขามหาอุบาสิกา คือ เป็นธิดา เป็นลูกสะใภ้ เป็นเจ้านายที่ดี เป็นเอตทัคคะด้านอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา  ๒) รูปแบบที่ดีของพระมหาปชาบดีโคตมี เป็นแบบอย่างที่ดีทางโลกคือเป็นมารดาเลี้ยงที่ดีที่สุด เป็นแบบอย่างที่ดีทางธรรมคือการรับและปฏิบัติตามครุธรรม ๘ ประการ จนทำให้ภิกษุณีรุ่นหลังปฏิบัติตามพระธรรมวินัย บำเพ็ญเพียรจิตภาวนาจนกระทั่งได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับฉลองพระชนมายุ ๘๐ พรรษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวฑฺฒนมหาเถร) (๙๑ เล่ม) เล่มที่ ๑๓, ๓๔, ๓๖, ๓๗, ๔๐, ๔๑, ๔๒, ๔๓, ๕๔, ๕๘, ๕๙, ๖๐, ๖๑, ๖๒, นครปฐม : มหามกุฏราชวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๔๖.
ข้อมูลทุติยภูมิ
๑) หนังสือทั่วไป
ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ, (มีนาคม ๒๕๖๐) แนวคิดสตรีนิยมและขบวนการทางสังคมของผู้หญิงในประเทศไทย: วิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ข้อถกเถียงและยุทธศาสตร์.
นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์. (๒๕๔๐). ทฤษฎีและการสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ ๘,(กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (๒๕๔๒). มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน, (๒๕๕๖). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔, พิมพ์ครั้งที่ ๑, กรุงเทพฯ: บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ, (๒๕๔๙). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency. พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ .
เสรี พงศ์พิศ.(๒๕๔๗). แผนชีวิตเศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญาไทย.
๒)บทความ/วารสาร/บทวิทยุ
ชำนาญ นิศารัตน์. (๒๕๔๕) เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภิกษุณี, พุทธจักร, ๕๕ กรกฎาคม ๒๕๔๕.
ฐิติธร ผิวทองงาม.(๒๕๕๘). “ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเกี่ยวกับความรู้ทางด้านบัญชี เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”,บทความในวารสารวิชาการ ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘.
ดร.สามารถ บุญรัตน์. (๒๕๕๙). “ภาวะผู้นำสตรี : กรอบแนวคิดตามแนวของพระพุทธศาสนา” บทความ, วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม,ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือน กรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๕๙.
นางวีรนุช พรมจักร.บทบาทสตรีในพระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาล, บทความ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง .
พรสม เปาปราโมทย์, (๒๕๕๖ ). ความเสมอภาคในครอบครัวและการสมรส: ตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ,วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เสมอ บุญมา. (๒๕๒๔). ภิกษุณีในพระพุทธศาสนา, กรุงเทพ ฯ :วารสารสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (๒๕๕๔). บทวิทยุรายการ“รู้ รัก ภาษาไทย”ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.จเร พันธุ์เปรื่อง, สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย.

๓)วิทยานิพนธ์
นางทัศนีย์ ฉ่ำพิรุณ. (๒๕๕๔). “บทบาทและหน้าที่ของสตรีในฐานะผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณีแม่บ้านทหารอากาศ”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูนิพัทธ์กัลยาณวัฒน์ (คะนอง ลายน้ำทอง), (๒๕๕๖). “การศึกษาเปรียบเทียบสถานภาพบทบาทและสิทธิของสตรีในสมัยพุทธกาลกับสังคมไทย”,วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา), บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เพชรา สุนทรโทก.อ้างในร้อยตำรวจโท วุฒิชัย เปียแดง, (๒๕๕๓). “บทบาทและชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว: ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนนำร่องของกรุงเทพมหานคร๔ ชุมชน”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุมาลี แสงเดช. (๒๕๔๔). “คุณธรรมของสตรีคนสำคัญในวรรณคดีพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุทธญาณ์ โอบอ้อม,ว่าที่ร้อยตรีหญิง.(๒๕๕๗). “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา,วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

๒. ภาษาอังกฤษ
Alcoff, Linda. ๑๙๙๕. Cultural Feminism versus Post-Structuralism: The Identity Crisis in Feminist Theory. In Nancy Tuana and Rosemarie Tong. (eds.) Feminism and Philosophy: Essential Reading in Theory, Reinterpretation, and Application. San Francisco: Westview Press. P. ๔๓๔-๔๕๖.
Bartky, Sandra Lee. ๑๙๘๘. Foucault, Femininity, and Modernization of Patriarchal Power. In Feminism and Foucault: Reflections on Resistance. Edited by Irene Diamond and Lee Quinby. Boston: Northeastern University Press.
Berlo (๑๙๙๖:๒๙) อ้างในฐิรวุฒิ เสนาคำ, “แนวคิดคนพลัดถิ่นกับการศึกษาชาติพันธุ์”(กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร,๒๕๔๗), หน้า ๑๙๑.
Cohen,B.J. Introduction to Sociology, New York: Mc Graw Hill, ๑๙๗๙, P.๓๖.
Faderman, Lillian. ๑๙๗๘. The Morbidification of Love between Women by ๑๙th
Century Sociologist.Journal of Homosexuality ๔ (Fall ๑๙๗๘), ๗๓-๘๙.
Lum, J.LRole theory : In Childbearing Nursing Perspective. Philadelphia: F.A.Davis.
๑๙๗๙, P. ๑๒๘.
McNay, Lois. ๑๙๙๒. Foucault and Feminism: Power, Gender, and the Self. Cambridge: Polity Press.
Smith Rosenberg, Carroll. ๑๙๗๕. The Female World of Love and Ritual: Relations between Women in Nineteenth Century America. Signs, Vol.๑(๑) (Autumn), P.๑-๒๙.

๓.เว็บไซต์
ออนไลน์ที่มา http://www.deepsouthwatch.org ๒๐/๖/๕๙.
ออนไลน์ที่มา http://www.manager.co.th ๒๐/๖/๖๑.
ออนไลน์ที่มา https://www.prachachat.net ๓๐/๑/๖๑.
ออนไลน์ที่มา http://www. sd-group. ๒๐/๖/๖๑.
ออนไลน์ที่มา https://www.sites.google.com. ๑๙/๗/๖๑.
ออนไลน์ที่มา http://www.thaicadet.org/Buddhism/Faminism. ๓๐/๑/๖๑.