การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท ในประเทศลาว

Main Article Content

Chaichan Srihanu

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท การปฏิบัติการสอบอารมณ์กรรมฐานในประเทศลาวและเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสอดคล้องการปฏิบัติการสอบอารมณ์กรรมฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนา การวิจัยพบว่า การปฏิบัติกรรมฐานในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีควบคู่กันมากับหลักพระพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยโบราณแต่ไม่มีหลักฐานบันทึกอย่างเป็นทางการ ในปัจจุบันส่วนใหญ่หลักการปฏิบัติกรรมฐานได้รับอิทธิจากคำสอนของพระอาจารย์มหาปาน อานนฺโท ผู้ได้รับการยกย่องอย่างมากและขยายไปทั่วประเทศ หลักการปฏิบัติกรรมฐานใช้การรู้เท่าทันอิริยาบถปัพพะ ในการเริ่มทำกรรมฐานจะต้องบูชาและขอมาโทษต่อพระรัตนตรัยก่อนแล้วจึงพิจารณาร่างกายด้วยมรณัสติแล้วจึงนั่งสมาธิภาวนาโดยรู้เท่าทันอิริยาบถหลักและย่อยจนจิตสงบจากนั้นยกจิตให้รู้ทันความเป็นปรมัตถ์ของรูปนามที่กำลังปรากฏในทวารทั้ง ๖ จิตก็รู้จักและไม่ยึดติดบัญญัติจนทำให้จิตหลงและฟุ้งซ่านเป็นเหตุของการยึดมั่น กิเลสตัณหา และทุจริตทั้งหลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คำตัน เทพบัวลี, พุทธศาสนากับสังคม. เวียงจันทน์: เวียงจันทน์การพิมพ์, ๒๕๑๙.
เจริญ มณีจักร์, กระบวนการทิฏฐิเจตสิกตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท, วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Journal of Buddhist Studies Chulalongkorn University, ๒๔(๑).
เติม วิภาคย์พจนากิจ, ประวัติศาสตร์ลาว.กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,๒๕๓.
พระวิละวอน วิรปญฺโญ (สีสะหวาด),บทบาทของพุทธบริษัทในการทะนุบํารุงพระพุทธศาสนา ในเมืองปากเชสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว, วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๓ เดือนกันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๐.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหาสีลา วีระวงส์. ชีวประวัติ พระเจ้าอนุวง. นครหลวงเวียงจันทร์: สํานักพิมพ์ ดอกเกด, ๒๕๕๓.
ອາຈຮິຍະບູຂານຸສອນ(ຂີວິດແລະຜ໌ນງານຂອງພຮະອາຈານ ມະຫາປານ ອານັນໂທ), ນຄອນຫຼວງວຽງຈັນ: ໂຄງການຟຸດທະສາສະໜາເພື່ອການ ພັດທະນາ (ຄ.ພ.ພ.),๒๐๑๐.