การเสริมสร้างความรับผิดชอบทางสังคมสำหรับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

Main Article Content

รศ.ดร.สุวิญ รักสัตย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างความรับผิดชอบทางสังคมสำหรับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย” มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อวิเคราะห์สภาพความรับผิดชอบทางสังคมสำหรับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และ ๒) เพื่อเสนอกระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบทางสังคมของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิ คือ พระไตรปิฎกและอรรถกถา บทสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๒๓ รูป/คน และข้อมูลจากการเสวนากลุ่ม จำนวน ๙ รูป/คน วิเคราะห์โดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอด้วยวิธีพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า สภาพความรับผิดชอบทางสังคมสำหรับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัยมีลักษณะเป็นปัจเจกมากกว่าที่เป็นภาพรวมของนักศึกษา และเป็นไปตามกิจกรรมที่บัณฑิตวิทยาลัยขอความช่วยเหลือแต่ยังไม่เป็นเชิงมีจิตอาสา นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษามีประสบการณ์ชีวิตจึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมตามบทบาทหน้าที่ของตน สำหรับบัณฑิตวิทยาลัยยังไม่กำหนดกรอบความรับผิดชอบต่อสังคมให้เป็นรูปธรรม


            กระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบทางสังคมของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยต้องเริ่มที่ระเบียบ ยุทธศาสตร์ นโยบาย หลักสูตร แผนปฏิบัติการ และโครงการต่าง ๆ โดยกำหนดให้ชัดเจนในบทบาทและหน้าที่ที่ต้องมีต่อความรับผิดชอบทางสังคมในทุกระดับ เน้นไปในแต่ละรายวิชาโดยกำหนดให้เป็นกิจกรรม ส่งเสริมให้เกิดมโนสำนึกต่อคุณธรรมที่มีในตนทางด้านนี้ และเสริมสร้างความมีวินัยต่อตนเองและใช้ระบบทางการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาความรับผิดชอบทางสังคมได้ บนฐานองค์ความรู้ที่ได้เรียกว่า CSRA Model

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

๑. ภาษาไทย
ข้อมูลปฐมภูมิ
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พุทธศักราช ๒๕๓๙. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ข้อมูลทุติยภูมิ
๑) หนังสือทั่วไป
คณะกรรมการกลุ่มความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนามาตรฐาน การเรียนการสอนและการวิจัยด้านบริหารธุรกิจแห่งประเทศไทย. (๒๕๕๕). แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ. กรุงเทพฯ : บริษัท เมจิกเพรส จำกัด. ๒๕๕๕
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (๒๕๔๓). พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ ๓. มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (๒๕๕๕). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พุทธธรรมประดิษฐาน ๒๖ ศตวรรษกาล.
สมเด็จพระพทธโฆษาจารย์. (ป.อ.ปยุตฺโต). (๒๕๖๑). การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development). พิมพ์ครั้งที่ ๒๑.
๒) วารสาร/บทความ
ธีรพร ทองขะโชค และอาคม ใจแก้ว. “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย”. วารสารวิทยาการจัดการ ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556
วรวุฒิ ไชยศร และบุญสม เกษะประดิษฐ์ “ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจกับการพัฒนาที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคม ๖ บริษัท”. วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๓ ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม ๒๕๖๐.
รัชนี ตรีพิพัฒน์กุล และดร.สุวิญ รักสัตย์. “บูรณาการการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรม”. เอกสารการประชุมวิชาการ 17th National and 1st International Symposium, 20 October 2019.
ลัดดา ผลวัฒนะและคณะ, “การศึกษาองค์ประกอบแห่งความสำเร็จในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย”. เอกสารการประชุมวิชาการ 17th National and 1st International Symposium, 20 October 2019.
Archie B. Carroll “Carroll’s pyramid of CSR” International Journal of Corporate Social Responsibility volume 1, Article number: 3 2016.

๓) บทความจากเว็บไซต์ (Web Site)
กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐http://www.ratchakitcha. soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF. เข้าเมื่อ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๒
กิตติพงศ์ จิรวัสวงศ์ (๒๕๖๒). มาตรฐาน ISO 26000. https://www.ftpi.or.th/2015/3420. เข้าเมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๒
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร (๒๕๔๘). ขบวนการพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่ : พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม(Socially Engaged Buddhism) https://www.mcu.ac.th/article/detail/ 519 เข้าเมื่อ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๒.
พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (www.pipat.com) http://www.pipat.com/2015/09/csr-4.html
ครูบ้านนอกดอทคอม (๒๕๖๒). มนุษย์เป็นสัตว์สังคม https://www.kroobannok. com/12093 เข้าเมื่อ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๒
พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (๒๕๕๓). วุฒิภาวะทาง 'CSR'. http://www.csrcom.com/ articles/view/113. เข้าเมื่อ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๒.
พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๖๒. (๒๕๖๒). http://www.ratchakitcha.soc.go.th/ DATA/PDF/ 2562/A/057/T_0054.PDF. เข้าเมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๒.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (๒๕๖๒). ประวัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. http://www.mbu.ac.th/ เข้าเมื่อ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๒.
Keith Davids (2006) KEITH DAVIS MODEL OF CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY, Seeing https://managementinnovations.wordpress.com/2008/12/06/ keith-davis-model-of-corporate-social-responsibility/ เข้าเมื่อ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๒
๔) วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
วิภาดา วีระสัมฤทธิ์. (๒๕๕๓). “ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)”. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นางสาวอาริสา ใบเงิน (๒๕๕๙). “แนวทางในการดำเนินนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษา: โครงการป่าในกรุง”. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารรัฐกิจและและกิจการสาธารณะสำหรับนักบริหาร. คณะรัฐศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรรณชา กาญจนมุสิก (๒๕๕๔) “การทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร”. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.