พุทธวิธีในการแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาท

Main Article Content

พระศรีรัชมงคลบัณฑิต อรุณ พุทฺธิสาโร

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “พุทธวิธีในการแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาท” พบว่า ถ้าสังคมไทยนำเอาพุทธวิธีในการแก้ไขปัญหาความทะเลาะวิวาทกันมาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทแบ่งฝ่ายในสังคมไทย แก้ให้ตรงสาเหตุของปัญหา วิธีแก้นั้นต้องมีคนกลางที่มีคุณสมบัติเป็นที่เคารพเชื่อถือของคนทั้ง ๒ ฝ่าย เช่น ปราศจากอคติต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอย่างแท้จริง ออกมาช่วยประนีประนอมไกล่เกลี่ยแก้ไขปัญหา และกลุ่มคนที่มีปัญหาทั้ง ๒ ฝ่ายต้องยอมรับและพร้อมจะช่วยกันแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะการแก้ทัศนคติของแต่ละฝ่ายที่มีต่อกันที่เป็นลบต้องปรับทัศนคติทั้ง ๒ ฝ่ายให้เป็นบวกได้ การแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทก็คงจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ดังนั้นพระพุทธศาสนามองว่าปัญหาทั้งปวงย่อมเกิดจากเหตุ ดังนั้นก็ต้องแก้ที่เหตุนั้น และเหตุที่สำคัญที่สุด คือ ตัณหา ที่เป็นเหตุก่อการทะเลาะวิวาท ดังนั้นหลักพุทธธรรมที่ช่วยแก้ปัญหา คือ อริสัจ ๔ ไตรสิกขา และพรหมวิหาร ๔ ไปช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งให้ลดลงและแก้ปัญหาได้ในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เบรนด์อาร์.เนลสัน. (๒๕๔๘). ความคิดทางการเมืองตะวันตก แปลโดยสมนึก ชูวิเชียร. กรุงเทพมหานคร: เอ็มแอลครีเอชั่น.
จำนง อดิวัฒนสิทธิ์. (2544). สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. (2538). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ, เล่มที่ 13,22, กรุงเทพมหา นคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, พ.ศ. 2538
________. (2548). ธัมมปทัฏฐกถา แปล ภาค 1. พิมพ์ครั้ง 19. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย
________. (2547). ธัมมปทัฏฐกถา แปล ภาค 6. พิมพ์ครั้ง 14. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย
พระศรีรัชมงคลบัณฑิต, (2551). ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับประชาชนของคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย