บูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคม

Main Article Content

พระศรีสุวงศ์ สิริภทฺโท

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความเสื่อมและการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดกและบูรณาการการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดกด้วยหลักพุทธธรรม 3. เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบการบูรณาการพุทธธรรมในการป้องกันความเสื่อมของสังคมในมหาสุบินชาดก”โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าเอกสารปฐมภูมิจากเอกสารขั้นต้นและขั้นรอง มีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงบุคคล จำนวน ๒๔ รูป/คน สรุปผลการวิจัยเพื่อหาข้อสรุปนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรูปใหม่เกี่ยวกับรูปแบบูรณาการการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก ต่อไป


            ผลการวิจัย พบว่า หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในมหาสุบินชาดกมี 4 ด้าน คือ ด้านผู้นำ ด้านข้าราชการ ด้านประชาชน และ ด้านพระสงฆ์ ประกอบด้วย หลักทศพิธราชธรรม พรหมวิหารธรรม สัตตบุรุษ อธิปไตย หลักอคติ เบญจศีล เบญจธรรม จาตุปาริสุทธิศีล สันโดษ องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับ รูปแบบการป้องกันความเสื่อมของสังคมตามที่ปรากฏในมหาสุบินชาดก คือ PRCE : MODELP = Personnel Quality R = Responsibility Roles C = Cultivation Ethice E = Effort exertion Development  


คำสำคัญ : หลักพุทธธรรม , การป้องกัน, ความเสื่อมของสังคม , มหาสุบินชาดก.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บรรณานุกรม
มหามกุฏราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. (๒๕๒๕). พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐและภาษาไทยพร้อมอรรถกถา แปลฉบับครบรอบ ๒๐๐ ปี แห่งราชวงศ์จักรีกรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๕๒๕ ๔๕ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.เล่มที่ ๒๐, ๒๗,
ดุสิต ชูแข. (๒๕๕๗). รูปแบบการบังคับใช้กฎหมายอาญาในกระบวนการยุติธรรมตามแนวพุทธ ปรัชญา.วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช วิทยาลัย.
ปรียนันท์ เสถียรนพเก้า. (๒๕๕๙). บูรณาการหลักพุทธธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความไทย. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช วิทยาลัย.
เทพพร มังธานี. (๒๕๔๒). การวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์เถรวาทในมหาสุบินชาดก. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระมหาบุญนภัสร์ ถิรปุญฺโญ (ทองงาม). (๒๕๕๔). การดำเนินชีวิตแบบอริยวิถีในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช วิทยาลัย.
วสมน พิพณีย์. (๒๕๕๘). การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวตามแนวพุทธธรรม. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช วิทยาลัย.
อำพล บุดดาสาร. (๒๕๕๖). การพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ศาสนศา สตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.