ตัวบ่งชี้คุณสมบัติของครูดนตรี ในระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ปวันรัตน์ ประศาสน์ศิลป์
พระราช รัตนมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างตัวบ่งชี้คุณสมบัติของครูดนตรีที่แท้จริงที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้คุณสมบัติของครูดนตรี ในระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2)เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวบ่งชี้คุณสมบัติของครูดนตรี ในระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อประเมินและรับรองตัวบ่งชี้คุณสมบัติของครูดนตรี ในระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ครูดนตรีโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2557 จำนวน 42 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษารวมทั้งสิ้นจำนวน 600 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัยใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม  และแบบประเมินรับรอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์องค์ประกอบ


             ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้คุณสมบัติของครูดนตรี ในระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ตัวบ่งชี้ดีมีความเหมาะสมทุกตัวบ่งชี้ โดยมีผลการตรวจสอบความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยเป็นไปตามเกณฑ์ มีจำนวน 55 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ องค์ประกอบที่ 1 ด้านความรู้ทางดนตรี ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 การปฏิบัติดนตรีด้วยความเข้าใจและคล่องแคล่ว 1.2 ทักษะในการขับร้อง และ 1.3 การประพันธ์และเรียบเรียงดนตรี มี องค์ประกอบที่ 2 ด้านความสามารถในการสร้างแรงจูงใจประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1 ความจริงใจ 2.2 การมีส่วนร่วมความรู้สึก และ 2.3 ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง องค์ประกอบที่ 3 ด้านวิธีการสอนดนตรี ประกอบด้วย2 องค์ประกอบ ได้แก่ 3.1 การใช้วิธีสอนที่หลากหลาย และ 3.2 การส่งเสริมบรรยากาศ องค์ประกอบที่ 4 ด้านคุณธรรม จริยธรรม ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 4.1 ความประพฤติดี (ศีล 5) 4.2 ความมานะอดทน และ 4.3 ความขยันและกระตือรือร้น มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณา ค่า Chi-Square อยู่ที่ 42.49 ดัชนีวัดความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.998 ดัชนีวัดความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.972 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.998  ค่าดัชนีรากกำลังสองของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.026 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (RMR) เท่ากับ 0. 003 ซึ่งมีค่าเข้าใกล้ศูนย์มาก แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. ผลการประเมินและรับรอง ด้านความถูกต้อง เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด =4.69, S.D.=0.47 , ด้านความเหมาะสม เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด =4.68, S.D.=0.46 , ด้านความเป็นไปได้เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด =4.75 , S.D.= 0.44, ด้านความเป็นประโยชน์เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด =4.77, S.D.=0.43 ทั้ง 4 ด้านผ่านการประเมินและรับรอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จเร สำอางค์. (2552). ดนตรีเล่น สมองแล่น. กรุงเทพฯ: เชอรี่บุ๊คส์.
ประสาน ธัญญะชาติ, ผศ.และพิสุทธิ การบุญ. (2553). คุณลักษณะครูดนตรีที่พึงประสงค์ ในทัศนะของบุคลากรทางการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี. หลักสูตรดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิตยา พุ่มแสงทอง.(2543). “ความคิดเห็นและความคาดหวังของครูสอนดนตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณรุทธิ์ สุทธจิตต์. (2554). สาระทางดนตรีศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกรี เจริญสุข. (2557).คู่มือครูดนตรี (ปลูกดอกไม้ในดวงใจ). นครปฐม : วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.