รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

วชิรวิทย์ นิติพันธ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สร้างรูปแบบ และประเมินรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ โรงเรียนสุจริตต้นแบบระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๒๗ โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูล จำนวน ๕๐๘ คน เครื่องมือที่ใช้ คือ ๑) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง ๒) แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .84 และ ๓) แบบประเมิน สถิติพื้นฐานที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบหลัก และ ๑๑ องค์ประกอบย่อย ๒) รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นรูปแบบที่มีชื่อว่า “SPG Model”โดยเป็นรูปแบบเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบหลัก และ ๑๑ องค์ประกอบย่อย โดยเรียงลำดับจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก คือ มาตรฐานโรงเรียนสุจริต การบริหารโรงเรียนแบบ PIE Cycle และหลักสุจริต และ ๓) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนสุจริตของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๘๐ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนด จึงสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
ประทุมทอง ไตรรัตน์.. กลยุทธ์การบริหารมหาวิทยาลัยตามแนวคิดการเสริมสร้างขีด
ความสามารถด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๘.
พระครูสังฆรักษ์มนตรี ถาวโร. การบริหารงานตามหลักสุจริต 3 ของผู้บริหารเทศบาลตำบลแก้งคร้อ
อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม,ปีที่ 2(ฉบับที่ 1),(มกราคม-
มิถุนายน ๒๕๕๘); หน้า ๒๐๔ – ๒๑๓.
ภารุจีร์ เจริญเผ่า. กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะของเด็กไทย
ในประชาคมอาเซียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๗.
ศักดา สกนธวัตน์. ยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนในเครือข่ายมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล
แห่งประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน. วิทยานิพนธ์(ค.ด.) –
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๕.
สุทธิธัช คนกาญจน์. การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. ปริญญา
นิพนธ์การศึกษดุษฎีดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการทดสอบและวัดผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๔๗.
สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตวรรณา, และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. สถิติวิเคราะห์สำหรับ
การวิจัยทางสังคมศาสตร์แพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม Lisrel.
(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่งคงการพิมพ์, ๒๕๕๗.
สุมาลี สุธีกุล. กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๗.
สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔). นนทบุรี :
สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, ๒๕๖๐.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แนวทางการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฏกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการกระจายอำนาจบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ๒๕๕๐ก.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙. กรุงเทพฯ:
พริกหวานกราฟฟิค, ๒๕๖๐.
Newby, T.J., Stepich, D.A., Lehman, J. D., & Russell,J.D. Educational technology for
Teaching and learning. (2nd ed.). Upper Saddle River, NJ: Merrill/Prentice-Hall,
2000.
Pitt Community College. Planning-Implementation-Evaluation Cycle (PIE Cycle). (2011).
[Online]. Rtrieved May 5,2013 from: http://www.pitcc.edu/experience- pcc/
planning-and-research/planning-and-institutional-effectiveness/PIE-Inst.Workunit
Cycle.pdf.
Robbins, S.P. Orgnizational behavior – Concepls, Controvcrsies and applicatiors.
New Jersey: Prenlice – Hall, 1997.