ศึกษาการบำเพ็ญบารมีและการบรรลุธรรมของพระกังขาเรวตเถระ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของสารนิพนธ์เรื่อง “ศึกษาการบำเพ็ญบารมีและการบรรลุธรรมของพระกังขาเรวตเถระ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประวัติและการบำเพ็ญบารมีของพระกังขาเรวตเถระ และ 2) วิเคราะห์แนวทางการบรรลุธรรมของพระกังขาเรวตเถระ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า พระกังขาเรวตเถระได้ตั้งความปรารถนาเป็นพระอรหันต์เอตทัคคะด้านยินดีในฌาน ในสมัยพระปทุมุตระพุทธเจ้าได้ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และได้รับการทรงพยากรณ์ว่า ในสมัยพระพุทธเจ้าโคตมะ จะได้เป็นสาวกผู้เอตทัคคะด้านยินดีในฌาน และชื่อว่า “เรวตะ” ด้วยความเพียรในการบำเพ็ญบารมีเสมออย่างสม่ำเสมอตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยการปฏิบัติกรรมฐานโดยใช้ฌานเป็นฐานของการเจริญวิปัสสนา ซึ่งอนุมานได้ว่า การที่พระกังขาเรวตเถระเป็นผู้ชำนาญในการเข้าออกฌานสมาบัติย่อมได้เจริญสมถกรรมฐานจาก 1 ใน 30 กอง คือ กสิณ 10, อสุภะ 10, กายคตาสติ 1, อานาปานสติ 1, อัปปมัญญา 4 หรือ อรูป 4 จนยกระดับจิตเข้าสู่อัปปนาภาวนา แล้วใช้เป็นฐานยกเข้าสู่วิปัสสนาด้วยการรู้แจ้งในอริยสัจ 4 บรรลุถึงโลกุตตรธรรม 9 โดยการปฏิบัติตามหลักโพธิปักขิยธรรม 37 ด้วยความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ ที่เรียกว่า เจโตวิมุตติ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
ลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๕๖.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). พจนานุกรมเพื่อพุทธศาสน์ ชุด ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง. ๒๕๕๐.
พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๗. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๕๑.
ธรรมสภา, ๘๐ พระอรหันต์ (ฉบับสมบูรณ์) เพื่อการศึกษา ค้นคว้า อ้างอิงในพระไตรปิฎก, กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา. ๒๕๕๕.
พรรณรัศมี ปิยพงศ์วิวัฒน์. พระสุตตันตปิฎก สาระเพื่อการสิ้นทุกข์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด. ๒๕๔๙.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. สารานุกรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๒๙.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ ๑๙. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จํากัด. ๒๕๕๒.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. ทศบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๓๕.
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์. พระโอวาทธรรมบรรยายเล่ม ๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๑๕.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ สมบูรณ์ ตาสนธิ. พระอรหันตสาวกบรรลุธรรมได้อย่างไร. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์, ๒๕๕๕.
พระเด่น ชิตมาโร. การบำเพ็ญบารมีและการบรรลุธรรมของพระองคุลิมาลเถระ. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒ (ก.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๙).