การบูรณาการหลักอัตถะ ๓ ในการสังคมสงเคราะห์ : บทวิเคราะห์ในมิติพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อบูรณาการหลักอัตถะ ๓ ในการสังคมสงเคราะห์โดยวิเคราะห์ในมิติระพุทธศาสนา อัตถะ ๓ ได้แก่ ๑) ทิฏฐธัมมิกัตถะ ๒) สัมปรายิกัตถะ และ๓) ปรมัตถะ อัตถะ ๓ ประการ เป็นวิธีการสังคมสงเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาของชีวิต คือ ๑) ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ปัจจุบัน เป็นวิธีสงเคราะห์ให้บุคคลได้มาซึ่งปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างเพียงพอ เป็นการสงเคราะห์รายบุคคล ๒) สัมปรายิกัตถะประโยชน์เบื้องหน้า เป็นวิธีการสงเคราะห์เพื่อให้สังคมมีความสงบสุข เป็นการตอบสนองด้านสังคม เป็นการมุ่งสงเคราะห์เพื่อให้แก้ปัญหาส่วนสังคม
๓) ปรมัตถะประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการสงเคราะห์ด้านจิตใจ เพื่อให้บุคคลมีความมั่นคงสงบสุข เป็นการตอบสนองด้านจิตใจ วิธีนี้เป็นการดับปัญหาอย่างสิ้นเชิง
บูรณาการหลักอัตถะ ๓ ในการสังคมสงเคราะห์ : บทวิเคราะห์ในมิติระพุทธศาสนา คือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ เป็นวิธีสงเคราะห์ให้บุคคลได้มาซึ่งปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างเพียงพอ เป็นการสงเคราะห์รายบุคคล สัมปรายิกัตถะ เป็นวิธีการสงเคราะห์เพื่อให้สังคมมีความสงบสุข และปรมัตถะ เป็นวิธีการสงเคราะห์ด้านจิตใจ เพื่อให้บุคคลมีความมั่นคงสงบสุข เป็นการตอบสนองด้านจิตใจ อัตถะ ๓ ถือได้ว่าเป็นหลักการและเหตุผลที่สำคัญ คือ ต้องคำนึงถึงหลักเหตุผลเป็นสำคัญ ยึดหลักพึ่งตนเอง เป็นไปอย่างสมดุล สอดคล้องจุดมุ่งหมายหลักของชีวิต และต้องไม่ก่อทุกข์ให้แก่ตนเองและผู้อื่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระพุทธศาสนากับการสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.
ประสิทธิ์ จันรัตนา. หลักธรรมราชสดุดี. กรุงเทพมหานคร : การศาสนา, 2539.
ปัญญา ใช้บางยาง. 80 พระอรหันต์ ฉบับสมบูรณ์. กรงเทพมหานคร : ธรรมสภา, ม.ป.ป..
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2535.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ. สังคมสงเคราะห์ศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2529.
http://www.suankaew.or.th/catalog.php?idp=2>. (เข้าถึงเมื่อ 13 กันยายน 1554).
http://th.wikipedia.org/wiki>. (เข้าถึงเมื่อ 13 ก.ย. 2555).