ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี

Main Article Content

สุกัญญา สายลอด
สุวรรณา โชติสุกานต์
อรสา จรูญธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผู้นำการสร้างสัมพันธภาพและความใกล้ชิด รองลงมา คือ ด้านผู้นำที่ให้ความสำคัญต่อลูกค้า และด้านผู้นำที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านผู้นำการสร้างความไว้วางใจ และผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร จำแนกตามประสบการณ์ทำงานของครู พบว่า ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกัน  2) ผลการศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของครูภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การปฏิบัติตามระเบียบขององค์กร รองลงมาคือ พฤติกรรมการช่วยเหลือ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การพัฒนาตนเอง และผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร จำแนกตามประสบการณ์ทำงานของครู พบว่าครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของครูไม่แตกต่างกัน และ 3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของครูในสถานศึกษาทางบวกระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จันทกานติ์ ตันเจริญพานิช และนิตยา เงินประเสริฐศรี. (2550). “ทิศทางการพัฒนาภาวะ ผู้นําภาครัฐของไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 21” วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 33(1), 82-90.
ชนิตา เศษลือ. (2556). แรงจูงใจในการทำงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของครูโรงเรียนในเครือสารสาสน์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทวีภรณ์ วรชิน (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ขาวฟาง.
บุญช่วย สายราม. (2557). ทักษะภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่. มหาสารคาม: ภาควิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปิยะรัตน์ พุ่มวิเศษ. (2553). ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย สินลารัตน. (2554). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง.
สมชาย เทพแสง. (2559). ภาวะผู้นำสมดุล: รูปแบบของผู้นำในคริสต์ศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(24), 131-140.
สมยศ นาวีการ. (2540). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ เรื่องการจูงใจ:จากแนวความคิดไปสู่การประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพบ์รรณกิจ.
สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2556, 1-7.
สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแกน.
อะห์มัด ยี่สุ่นทรง, รอซียะห์ ลาเต๊ะ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและการจัดการศึกษาอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Ash, R. & Persall, M. (2001). The principal as chief learning officer: The new work of formative leadership. Retrieved from http://www.refresher.com/aclo.html.
Krejcie, R. V. and Morgan, D.W. (January 1970). “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.
Podsakoff, P. M.; et al. (2000, March). Organization citizenship behavior: A critical review of the theoretical and empirical literature and suggestion for future research. Journal of management. 25(3): 351-363.
Robert F. Kleysen and Christopher T. Street. (2001). Toward a multi-dimensionalmeasure of individualinnovative behavior. journal of Intellectual Capital. 2(3), 284-296.