การกระจายอำนาจกับการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องการกระจายอำนาจกับการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้เขียนมีแนวคิดที่จะนำเสนอการที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนาโดยรูปแบบของการกระจายอำนาจขององค์กรปกครองสู่ท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนตามกรอบของกฎหมายที่ให้ดำเนินการได้ การกระจายอำนาจกับหลักการปกครองตนเองของท้องถิ่นเป็นหลักการของการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยที่มีความสำคัญ การกระจายอำนาจที่แท้จริงคือก็คือการกระจายอำนาจไปที่ประชาชนหรือทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีบทบาทอำนาจหน้าที่ที่กว้างขวางและเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มามีส่วนร่วม ก็จะมีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตยในประเทศนั้นๆ การพัฒนาท้องถิ่นโดยการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนได้ปกครองตนเอง โดยชุมชนเป็นคนกำหนดเองว่า ในการจะพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นของตนเองจะไปในทิศทางไหน อย่างไร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องได้รับความสะท้อนจากประชาชนและนำมาดำเนินการร่วมกันกับภาคประชาคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง การกระจายอำนาจสู่องค์บริหารท้องถิ่นจึงเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศโดยรวม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : ส.เอเซียเพรส (1989). 2550
โกวิทย์ พวงงาม. มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น วิสัยทัศน์กระจายอำนาจและการบริหารงานท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม. 2549
ธเนศวร์ เจริญเมือง. 100 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. 2440-2540. กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 2544
วุฒิสาร ตันไชย. การกระจายอำนาจและประชาธิปไตยในประเทศไทย, กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า. 2557
วสันต์ เหลืองประภัสร์. บทวิเคราะห์ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการกระจายอำนาจในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า. 2554
วีระศักดิ์ เครือเทพ. นวัตกรรมสร้างสรรค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: หนังสือสำหรับเสริมพลัง ความคิดและหลักวิชาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 2548
ศักดิ์สุนทร ขาวลาจันทร์. (ม.ป.ป.). แนวคิดและทฤษฎีการปกครองท้องถิ่น. ในเอกสารประกอบการบรรยายรายวิชาแนวคิดและทฤษฎีการปกครองท้องถิ่น (262201), (น. 3). ม.ป.ท.: วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ. สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศไทย ด้านการปกครองท้องถิ่น, กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2557
สถาบันพระปกเกล้า. ชุดวิชาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการกระจายอำนาจและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า. 2563
สิริรัตน์ ชูรักษ์. การกระจายอำนาจ : สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://site.bsru.ac.th/padm/wp-content/uploads/2020/03/บทความการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.pdf
สิวาพร สุขเอียด. (ม.ป.ป.). การปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://wiki.kpi.ac.th
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (ม.ป.ป.). ประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://wiki.kpi.ac.th
Saito, Fumihiko. (2011). Decentralization. In Mark Bevir (Ed.), The SAGE Handbook of Governance (pp. 484-500), ibrd,