องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดบริการสาธารณะอย่างมีคุณภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องอาศัยการวางเป้าหมายเพื่อช่วยกำหนดทิศทางการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่นให้มีคุณภาพที่ดีและตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วนมากยิ่งขึ้น โดยใช้แนวคิดการจัดบริการสาธารณะเพื่อตอบโจทย์ความเท่าเทียมในทุกมิติ ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างการหลอมรวมคนทุกคนและทุกกลุ่มในชุมชน สังคม ท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้กลายเป็นเป้าหมายและความคาดหวังที่สำคัญของการจัดบริการสาธารณะในประเทศและท้องถิ่น การบริการสาธารณะที่ดีจะช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตและสร้างความสุขสมบูรณ์ในชีวิตของประชาชนและเกิดการจ้างงานของประชาชนในท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการสร้างการหลอมรวมคนทุกคนและทุกกลุ่มในชุมชน สังคม ท้องถิ่น ได้ควบคู่ไปกับการพัฒนาเพื่อสร้างการเจริญเติบทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยการจัดบริการสาธารณะได้อย่างมีคุณภาพโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยยึดหลักคิดการจัดบริการสาธารณะในมิติต่างๆ คือ ความเหมาะสมของประเภทของบริการสาธารณะ ระดับการหาผลประโยชน์และการแสวงหากำไร บุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายของบริการสาธารณะ และความสอดคล้องระหว่างประเภทของบริการสาธารณะและรูปแบบบริการสาธารณะ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กรพจน์ อัศวินวิจิตร, (2559). หลักนิติธรรมกับการบริการสาธารณะ, วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
วุฒิสาร ตันไชย, อรทัย ก๊กผล, ศิกานต์ อิสรระชัยยศ, วิลาวัลย์ หงษ์นคร,อภิวรรณ ซักเซ็ค, พิชิต.
วุฒิสาร ตันไชย. (2559). รูปแบบและประเภทการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า
อภิชาต สถิตนิรามัย, ยุกติ มุกดาวิจิตร, นิติ ภวัครพันธุ์, (2556). ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย เชียงใหม่:แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อำนวย บุญรัตนไมตรี. แนวคิดการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, วารสารการเมืองการปกครอง, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 กันยายน 2558 - กุมภาพันธ์ 2559
วุฒิสาร ตันไชย, “การกระจายภารกิจหน้าที่ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยุคใหม่,” สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2564. จาก http://www.local.moi.go.th/webst/botfam1.htm.
สันต์ชัย รัตนะขวัญ. มาตรฐานกลางในการจัดทำบริการสาธารณะ. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2564, จาก www.kpi.ac.th
Campbell, H. (1979). Black slaw dictionary (5th ed.). New York: West.
De Soto, J. (1989). Droit administrative: Theorie generale du service public. Paris:
Edition Mont Chrétien.
Shamsul Haque, “The Diminishing Publicness of Public Service under the Current
Mode of Governance,” Public Administration Review 61, no. 1 (January-
February 2001)