การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยใช้หลักพรหมวิหาร 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มมุ่งศึกษาการบริหารจัดการที่มีความสำคัญต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่จะขับเคลื่อนองค์การไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารจัดกาตามหลักพระพุทธศาสนา มีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อดับทุกข์และสร้างความเจริญ โดยเฉพาะความทุกข์ทางใจ ที่บุคคลากรในองค์การต่างประสบอยู่ ดังนั้น การที่จะบริหารจัดการขององค์การส่วนจังหวัดเพื่อให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยควรนำหลักพรหมวิหาร 4 มาปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 ข้อคือ 1) เมตตา คือ การจะบริหารจัดการขององค์การส่วนจังหวัดที่ดีควรยึดหลักความเมตตาเป็นหลักเพราะการที่ผู้บริหารจัดการมีความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขทั้งที่เป็นสุขทางกายและทางใจจะทำให้ผู้บริหารและบุคคลากรจะช่วยกันทำงานได้ดี 2) กรุณา คือ การจะบริหารจัดการขององค์การส่วนจังหวัดต้องมีความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกายและความไม่สบายใจ การมีความกรุณาของผู้บริหารจะทำให้บุคคลากรในองค์การส่วนจังหวัดมีความรู้สึกสบายในการทำงานแล้วในการบริหารจัดการขององค์การส่วนจังหวัดจะเป็นไปในทางที่ดี 3) มุทิตา คือ ผู้บริหารจัดการขององค์การส่วนจังหวัดมีความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี หรือเห็นบุคคลากรในองค์การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า การที่มีความมุทิตาหรือรู้จักความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี การบริหารจัดการขององค์การส่วนจังหวัดจะช่วยให้บุคคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารที่ดีและมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น 4) อุเบกขา คือ การรู้จักวางเฉย การบริหารจัดการบางครั้งผู้บริหารควรวางใจเป็นกลางในคณะบุคคลากรไม่มีส่วนร่วมหรือสามัคคีกันต้องพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดีตามกฎแห่งกรรม ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
ดาวรุ่ง สวัสดิรักษา. ผู้บริหารกับการจัดการทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาระดับประถมศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหาร การศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2556).
เทพพนม เมืองแมนและสวิง สุวรรณ. พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. (2549).
ปัญญานันทภิกขุ (ปั่น ปญฺญานนฺโท). หน้าที่ของคน ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.(2541).
พระครูนิวิฐธุราทร.พรหมวิหารธรรม. https://www.gotoknow.org/posts/252165. ค้นหา วันที่ 11 มีนาคม 2564.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพมหานคร : กรมการปกครอง.(2540).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต), ทฤษฎีหรือแนวคิดทางด้านการบริหารและการจัดการองค์กร. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์สวย.(2552).
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539).
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช. (เจริญ สุวฑฺฒโน). รวมธรรมะ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่งมหาชน.(2543).
สมภพ สุกช่วง. การบริหารการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.(2541).
สัมพันธ์ ภู่ไพบูลย์. องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : พิทักษ์อักษร.(2552).
สุริยา รักษาเมือง. (2560). การบูรณาการพุทธธรรมเพื่อนำไปใช้ในการบริหารงานภาครัฐอย่างลุ่มลึกในการศึกษาระดับสูงของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์.
Chapman, E.N. (1995). Supervisor Suviva Kit (2 nd ed.). California : Science Research Associates Inc.
Schermerhorn, J.R. et al, (2002). Managing organization Behavior. USA : John Wiley and Sons.