การพัฒนาศักยภาพชุมชนท้องถิ่นเพื่อผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วารี ศรีสุรพล
ชวลิต สวัสดิ์ผล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ผลการศึกษา พบว่า 1) การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในชุมชน จำแนกได้ 3 รูปแบบ คือ (๑)รูปแบบธรรมชาติ ที่มาจากกลุ่มคนดูแลในครัวเรือนเดียวกัน (๒) รูปแบบทางการ ที่มาจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และ (๓) รูปแบบกึ่งทางการกึ่งธรรมชาติ ที่มาจากกลุ่มอาสาสมัคร 2) การดำเนินกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย กลไกในการช่วยเหลือส่งเสริมในชุมชนท้องถิ่นต่อผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในชุมชน พบว่า บริบทของชุมชน กระบวนการ และกิจกรรมพัฒนาส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมพัฒนามีความสำคัญและแตกต่างกัน การดำเนินการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายกลไกแบบธรรมชาติ จะมีกิจกรรมพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของหมู่บ้านแบบชุมชนชนบท การดำเนินการพัฒนาเครือข่ายกลไกกึ่งทางการกึ่งแบบธรรมชาติ จะมีกิจกรรมพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของหมู่บ้านเป็นชุมชนกึ่งชนบทกึ่งเมือง การใช้กิจกรรมที่เป็นทุนทางสังคมของชุมชนที่มีวิถีการปฏิบัติร่วมกันด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านจิตใจ อารมณ์ ด้านสุขภาพ ด้านวัฒนธรรมและประเพณี และด้านกายภาพ 3) แนวทางที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงของกลไกชุมชนท้องถิ่น พบว่า กิจกรรมพัฒนาศักยภาพที่คนในชุมชนและหน่วยงานภายนอกทำร่วมกัน โดยการบูรณาการการมีส่วนร่วมตามศักยภาพของแต่ละกลไกจะส่งผลต่อความสำเร็จในการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงมากที่สุด โดยใช้แนวทางกิจกรรมพัฒนาที่หลากหลาย ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชวลิต สวัสดิ์ผล, ธวัชชัย เพ็งพินิจ, อัครเดช เสนานิกรณ์ และวารี ศรีสุรพล. (2560). การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ปัญญเดช พันธุวัฒน์. การติดตามประเมินผล และสังเคราะห์องค์ความรู้โครงการโรงเรียนคุณธรรมในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2560). กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด, 2560.

ภารกิจโครงการและประสานงานวิจัย. (2555). ร่างยุทธศาสตร์การวิจัยรายสาขา: ด้านสังคมผู้สูงอายุ พ.ศ.2555 – 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

โยธิน แสวงดี และคณะ. ครัวเรือนกลุ่มกับระบบการดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ใน ครอบครัวไทยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านทางสังคมและประชากร. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ และศิริวรรณ ศิริบุญ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2552. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2552.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. ระบบการดูแลระยะยาวในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2549.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. ครัวเรือนไทยในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา. วารสารประชากรและการพัฒนา ปีที่ 34 ฉบับที่ 5 (มิถุนายน – กรกฎาคม 2557). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557.

สมพงศ์ อรุณรัตน์ และคณะ. การศึกษาแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุในระดับครัวเรือน

และชุมชนของหมู่ที่ 5 ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2549.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557. กลุ่มสถิติประชากร สำนักงานสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2557.

Alavi, Maryam. Knowledge Management and Knowledge Systems. Retrieved September 8, 2000. From http://www.mbs.edu/is/malavi/icis-97-kms/sld011.htm.

Kemmis, S. and McTaggart, R. The Action Research Planner. Melbourne: Deakin University Press, 1988.

Sato Turid & Smith William E. The AIC Model: Concept and Practice. Washington, D.C.: ODII, 1980.