นโยบายสาธารณะเป็นหน้าที่ของรัฐบาล นโยบายสาธารณะ, หน้าที่, รัฐบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนโยบายสาธารณะเป็นหน้าที่ของรัฐบาล โดยรัฐบาลเป็นแกนนำในการกำหนดนโยบายเพื่อจัดทรัพยากรต่าง ๆ ให้แก่พลเมืองโดยรวมของประเทศ การกำหนดนโยบายสาธารณะเป็นการตัดสินใจวางแนวทางกว้าง ๆ ในการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาหรือการตอบสนองความต้องการสิ่งสำคัญคือการตัดสินใจว่ารัฐบาลจะกำหนดนโยบายสาธารณะอย่างไร ต้องอาศัยข้อมูลและใช้เทคนิคและทฤษฎีช่วยตัดสินใจ สำหรับขั้นตอนการกำหนดนโยบาย ได้แก่ การระบุปัญหา การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการวิเคราะห์ปัญหา กำหนดเป้าหมาย กำหนดขอบเขตและกรอบของนโยบาย การศึกษาข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการออกแบบทางเลือกนโยบายการวิเคราะห์ทางเลือก การพิจารณาเปรียบเทียบทางเลือก การทดสอบทางเลือก การจัดทำร่างนโยบายเสนอแนะกลยุทธ์ในการดำเนินนโยบาย และการอนุมัติและประกาศเป็นนโยบายตามลำดับ นโยบายสาธารณะนั้นเป็นการจัดสรรผลประโยชน์หรือสิ่งที่มีคุณค่าระหว่างปัจเจกชนและกลุ่ม ผลประโยชน์ต่าง ๆ ในระบบสังคมการเมือง เรียกว่า “การจัดสรรค่านิยมของสังคม” (William, 1975)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
จุมพล หนิมพานิช. (2547). การวิเคราะห์นโยบาย ขอบข่าย แนวคิด ทฤษฎี และกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อิงฟ้า สิงห์น้อย และรัฐชาติ ทัศนัย. (2564). “นโยบายสาธารณะ : การบริหารและการจัดการภาครัฐ”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์มจร. ปีที่ 6 ฉบับพิเศษ.
ฉันทวิชญ์ ตัณฑสิทธิ์. (2563). “ข้อหนึ่ง รัฐต้องเร่งใช้นโยบายประคับประคองระบบเศรษฐกิจรากฐานไม่ให้ล้มลง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://thaipublica.org/2020/ 03/covid-economicimpact-chantawith/. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2564.
ณัฐพล พัวประเสริฐ. (2560). “ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการนโยบายสาธารณะกับโลกาภิวัฒน์”. การบรรยายครั้งที่ 1. วิชา PAD 3318 กระบวนการนโยบายสาธารณะกับโลกาภิวัฒน์ (Globalization and Public Policy Process). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภฏัสวนสุนันทา. หน้า 1 – 3.
ธนวัฒน์ พิมลจินดา. สำเนาถ่ายเอกสารคำสอน วิชานโยบายสาธารณะ (Public Policy) รหัสวิชา 353511. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา. หน้า 64 – 68
ประเวศ วะศี. (2547). กระบวนการนโยบายสาธารณะ (Public Policy Process).
เสาวลักษณ์ ณ พัทลุง. (2556). “ศาลกับการบริหารงานภาครัฐ”. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. 15 มีนาคม 2556. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.opdc.co.th. สืบค้น 17 พฤษภาคม 2564.
สมคิด พุทธศรี. (2564). “‘ดิสรัปต์ภาครัฐ’: การใช้แพลตฟอร์มเพื่อประโยชน์สาธารณะ”. บริษัท ดิ วันโอวัน เปอร์เซนต์ จำกัด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.the101. world/platform-and-public-interest/#. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2564.