คัมภีร์สีมาวิโสธนี : การปริวรรต การแปล และวิเคราะห์

Main Article Content

รศ.ดร.วิโรจน์ คุ้มครอง
พระศรีสุทธิเวที ขวัญ ถิรมโน
พระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป (คำเคน)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า คัมภีร์สีมาวิโสธนี เป็นคัมภีร์ว่าด้วยการชำระสีมา อธิบายเรื่องสีมาที่ถูกต้องตามพระวินัย พระสาครพุทธิเถระแต่งอธิบายใน 5 หัวข้อคือ อุปสมบทกัณฑ์ กัปวินาศกัณฑ์ นิพพานกัณฑ์ สมสีสีกัณฑ์ และปกิณณกกัณฑ์ มีลักษณะการประพันธ์แบบร้อยแก้วและร้อยกรอง โดยใช้นามศัพท์ กิริยาศัพท์ และอัพพยศัพท์ได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา ซึ่งมีความสอดคล้องสัมพันธ์กับพระไตรปิฎก โดยนำคำสำคัญในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกามาอธิบายให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น  ผู้วิจัยได้ทำการปริวรรตคัมภีร์สีมาวิโสธนีจากภาษาบาลีอักษรพม่าเป็นภาษาบาลีอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทยสำเร็จเรียบร้อยแล้ว คัมภีร์สีมาวิโสธนีมีคุณค่าต่อวินัยกรรมพระสงฆ์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงอนุญาตสีมา และทรงกำหนดให้พระสงฆ์สาวกต้องประชุมทำร่วมกันในบริเวณที่กำหนดไว้เท่านั้น เพื่อมิให้ฆราวาสเข้ามายุ่งเกี่ยว สีมามีทั้งหมด 19 ชนิด เช่น ขัณฑสีมา อุปจารสีมา สมานสังวาสสีมา อวิปปวาสสีมา เป็นต้น และมีคุณค่าต่อวินัยกรรมของพระสงฆ์ที่เรียกว่า สังฆกรรม มีอยู่ 4 ประเภท คือ อปโลกนกรรมเป็นสังฆกรรมที่พระสงฆ์ไม่ต้องทำภายในสีมา ส่วนสังฆกรรมที่พระสงฆ์ต้องทำภายในสีมา คือ ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ตัวอย่างเช่น การอุปสมบทเป็นสังฆกรรมประเภทญัตติจตุตถกรรมที่พระสงฆ์ต้องทำภายในสีมา ถ้าสงฆ์มีมติเป็นเอกฉันท์ไม่มีพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งคัดค้าน บุคคลที่จะบวชนั้นก็สำเร็จเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์ โดยต้องผ่านเครื่องมือที่สำคัญคือสีมาจึงจะถูกต้องตามพระธรรมวินัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร

: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. 2506.

__________ . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2535.

__________ . อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกถา. กรุงเทพมหานคร :

โรงพิมพ์มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์วิญญาณ. 2532-2534.

ชรินทร์ จุลคประดิษฐ์. พันตรี. การแต่งบาลี 1-2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย. 2545.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พระพุทธศาสนาในอาเซีย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:

ธรรมสภา. 2548.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมาลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 6.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. 2533.

พระราชโพธิวิเทศ (ทองยอด ภูริปาโล). กรุงราชคฤห์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย.2545). หน้า 43.

พระมหานามเถระ และคณะบัณฑิต (แต่ง). คัมภีร์มหาวงศ์ ภาค 2. ผศ. สุเทพ พรมเลิศ (แปล)

กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2550.

พระมหาอดิศร ถิรสีโล. ประวัติคัมภีร์บาลี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระคันธสาราภิวงศ์ (แปลและอธิบาย). สุโพธาลังการมัญชรี. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ไทยรายวันการพิมพ์. 2546.

พระมหาปราโมทย์ วิริยธมฺโม (แก้วนา). อักษรจารึกในพระไตรปิฎก. นครปฐม: บาฬีศึกษาพุทธโฆส. 2562.

พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม). สังฆาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬา

ลงกรณราชวิทยาลัย. 2553.

พิทยา บุนนาค. เสมา สีมา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ. 2550.

พูลพิสมัย ดิศกุล ม.จ.. ประเพณีพิธีไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณกิจ. 2522.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: บริษัทนาน

มีบุ๊คส์พับพิเคชั่นส์ จำกัด. 2546.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระมหาสมณะ. บาญชี คัมภีร์ภาษา

บาลี แล ภาษาสันสกฤต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรธนากร. 2464.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโวรส. บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคที่ 2 อาขยาต

และ กิตก์ หลักสูตรเปรียญธรรมตรี. พิมพ์ครั้งที่ 38. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์

มหามกุฎราชวิทยาลัย. 2542.

เสถียร พันธรังสี และ หลวงวิจิตรวาทการ. ประเพณีทำบุญ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สามมิตร. 2514.