นวัตกรรมเพื่อการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดลำพูน

Main Article Content

Phrakhru Pavanasopit (Bunyavisit) Mueangwong
พระสมนึก ทับโพธิ์, ดร.
ดร.นิกร ยาอินตา
ผศ.ประเด่น แบนปิง
นายสราวุฒิ วะสารชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดลำพูน 2. เพื่อพัฒนานวัตกรรมเพื่อการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดลำพูน และ3. เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมเพื่อการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดลำพูน ใช้ระเบียบวิธีวิจัย 3 ประเภท คือ การวิจัยในเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดลำพูน ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วยด้านพุทธศิลป์ (พระสกุลลำพูน) ด้านการแต่งกาย (ผ้าไหมยกดอกลำพูน ผ้าฝ้าย ผ้าทอไทยลื้อ ผ้ากระเหรี่ยง) ด้านพิธีกรรม (มัคนายก/ปู่จ๋าน) ด้านเทศกาล (เทศกาลลอยกระทงหรือยี่เป็ง) และด้านประเพณี (สลากย้อม) ล้วนเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างพระพุทธศาสนากับความเชื่อและวิถีชีวิตดั้งเดิมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ อาศัยความเชื่อ ความศรัทธาตามหลักทางพระพุทธศาสนา โดยผู้ที่มีบทบาทในการชี้นำด้านความเชื่อคือ มัคนายกหรือปู่จ๋าน ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงระหว่างวัดและประชาชน และยังเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณด้านพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ดังนั้น บทบาทของมัคนายกหรือปู่จ๋านจึงมีความสำคัญต่อการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี 2.ผลการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดลำพูน พบว่า ควรใช้แนวคิดการบูรณาการนวัตกรรมเข้าในระบบการศึกษาของท้องถิ่น ให้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในเบื้องต้นและเข้าใจในบริบททางพุทธศาสนามากขึ้น ผู้วิจัยจึงพัฒนาเป็นชุดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปู่จ๋านน้อย ในวันพระ” และ “แผนการจัดการเรียนรู้”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพงษ์ คำบุญเรือง, (12 ต.ค. 59). “ตามฮอยฮีต คนเมือง จากประเพณี 12 เดือน”. เชียงใหม่นิวส์. [ออนไลน์]. 13 ย่อหน้า. แหล่งที่มา : https://www.chiangmainews.co.th/page/ archives/ 508482/ [19 ตุลาคม 2563].

จิรวัฒน์ พิระสันต์ และคณะ.. “การพัฒนานวัตกรรมทางด้านศิลปะในการจัดการท่องเที่ยวรูปแบบวัฒนธรรมประเพณีและเทศกาลในพื้นที่ภูหินร่องกล้า ภูทับเบิก และเขาค้อ”. โครงการวิจัย. กองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว., 2560.

เจษฎา สอนบาลี และคณะ. “การศึกษาอัตลักษณ์ของชาวไทยอง จังหวัดลำพูน ผ่านประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และพิธีกรรม”. รายงานการวิจัย. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม : กระทรวงวัฒนธรรม, 2555.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. วิถีไทย : การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2540.

นเรศ สงเคราะห์สุข. กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2541.

เลขานุการ ก.บ.จ.ลำพูน. แผนพัฒนาจังหวัดลำพูน พ.ศ.2561 - 2564 ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562. สำนักงานจังหวัดลำพูน : กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดลำพูน, 2562.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. วัฒนธรรมวิทยา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2540.

Cohen, JM; & Uphoff; N.T. Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Development Committee Center for International Studies. Cornell University, 1980.