พุทธนวัตกรรมการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตเพื่อแก้ปัญหา โรคซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดลำพูน

Main Article Content

Wisidpol Goolprom

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของโรคซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดลำพูน 2) เพื่อศึกษากระบวนการพุทธนวัตกรรมการแก้ปัญหาสุขภาวะทางจิตด้านโรคซึมเศร้าในจังหวัดลำพูน และ3) เผยแพร่พุทธนวัตกรรมการแก้ปัญหาสุขภาวะทางจิตด้านโรคซึมเศร้าในจังหวัดลำพูน วิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นการทดลองในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า จำนวน 2 คน โดยใช้เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์และแบบทดลอง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและสาเหตุของโรคซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดลำพูน มี 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด มีความวิตกกังวลต่ออาการเจ็บป่วย ด้านจิต ผู้สูงอายุมีความน้อยใจที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุตรหลาน ทำให้เกิดภาวะเครียดสะสมจากอาการป่วยด้านร่างกาย ด้านสังคม ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีบทบาทในด้านชุมชนที่น้อยลง อำนาจการตัดสินใจน้อยลง การให้ความสำคัญของผู้สูงอายุในด้านชุมชนน้อยลง จึงทำให้ผู้สูงอายุเข้าสังคมน้อยลง และด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุบางส่วนไม่สามารถจะเกษียรตัวเองได้ เพราะยังต้องหาเลี้ยงครอบครัว เงินที่ได้มาไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ทำให้เครียดจนทำให้เป็นโรคซึมเศร้า 2) ผู้สูงอายุควรยึดหลักธรรมคำสอบของพุทธศาสนามาเป็นคติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง และสามารถปรับตัวปรับใจรับกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายได้อย่างมีสติ ซึ่งหลักธรรมที่นำมาใช้ คือ หลักธรรมภาวนา 4 กายภาวนา การจะเข้าสู่กระบวนการหลักภาวนา 4 ให้ได้ประสิทธิผลอย่างแท้จริง ควรปฏิบัติตามชุดกิจกรรม ชื่อว่า “3ป 1ส” 3) การเผยแพร่พุทธนวัตกรรมการแก้ปัญหาสุขภาวะทางจิตด้านโรคซึมเศร้า ได้ดำเนินการเผยแพร่โดยการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ โดยชุดชื่อกิจกรรม 3ป 1ส เป็นชุดกิจกรรมที่ประกอบด้วย 4 ชุดกิจกรรม คือ ชุดที่ 1 “ปลูก” ชุดที่ 2“ประดิษฐ์” ชุดที่ 3 “ปล่อย” และชุดที่ 4 “สร้างสรรค์สังคม”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นภา พวงรอด. “การศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี”. วารสารมหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 2 ฉบับที่ (มกราคม – มิถุนายน 2558).

พระฉัตรชัย จนฺทนนฺโท (จะทำ). “พฤติกรรมการดูแลสุขภาวะของพระสงฆ์ตามหลักภาวนา 4 ในเขตอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2558.

พวงแก้ว จินดา, สุภาวรรณ์ วงค์คำจันทร์, สุชาติ แสงทอง. “ยุทธศาสตร์การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรคเบาหวาน”. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. ปีที่ 17. (2558).

ยศ วัชระคุปต์ (บรรณาธิการ). “ระบบประกันการดูแลระยะยาว: ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย”. รายงานทีดีอาร์ไอ. ฉบับที่ 138 (มีนาคม 2561): 3.

วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และคณะ. “พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล”. วารสารสภาการพยาบาล. ปีที่ 26 ฉบับพิเศษ (มกราคม-มีนาคม 2554): 140.

อภิชัย มงคล. รายงานอัตราการฆ่าตัวตายของประเทศไทย 10 จังหวัดแรกที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด. [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล : https://www.suicidethai.com/report/ [23 สิงหาคม 2563].