นวัตกรรมการจัดการหนี้ครัวเรือนของเกษตรกร เพื่อลดความเหลื่อมล้ำตามแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากประชารัฐโมเดล จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกษตรกรไม่สามารถจัดการหนี้ครัวเรือนได้ 2. เพื่อสร้างนวัตกรรมในการจัดการหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ และ 3. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมการจัดการหนี้ครัวเรือนสู่กลุ่มเป้าหมายและสาธารณะ เป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ, การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า 1. สาเหตุการก่อหนี้คือรายได้ไม่พอกับรายจ่าย มีปัจจัยที่หนุนเสริมคือ โครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม นโยบายการเมือง ความรู้ ทักษะในการประกอบอาชีพ ความสามารถในการปรับตัวและการบริหารจัดการ 2. การสร้างนวัตกรรมในการจัดการหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ คือ 1) การวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาการเป็นหนี้และความสามารถในการจัดการหนี้ 2) การสร้างกรอบแนวคิดนวัตกรรม โดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) การสร้างต้นแบบนวัตกรรม โดยการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ข้อมูลสารสนเทศ และการนำหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์มาใช้ 4) การพัฒนาตัวแบบนวัตกรรม โดยนำวิธีการจัดการหนี้ของเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จ มาใช้เป็นแนวทางและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สื่อเทคโนโลยีด้านการเกษตร 5) การปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรม คือการเสริมหลักเศรษฐกิจพอเพียงและหลักอริยสัจธรรมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น 6) การส่งเสริมการใช้นวัตกรรม คือการสร้างความตระหนักรู้ในการหาสาเหตุและปัจจัยการก่อหนี้ การประยุกต์ใช้โมเดลการจัดการหนี้ WITHOUT Model ได้แก่ W=Wherefore มีเหตุผล, I=Inventory การทำรายการบัญชีทรัพย์สิน, T=Target มีเป้าหมาย, H=Honest ความซื่อสัตย์, O=Orientation การปรับตัว, U=Understanding การสร้างความเข้าใจ และ T=Thrifty ความประหยัดมัธยัสถ์ และ 7) การเรียนรู้นวัตกรรม คือการสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง เอานวัตกรรมการจัดการหนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 3. การเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมการจัดการหนี้ครัวเรือนสู่กลุ่มเป้าหมายและสาธารณะ คือ 1) การเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมผ่านการจัดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ และ2) การเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมผ่านสื่อสารสนเทศฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
นิกร ยาอินตา. “ยุทธศาสตร์การจัดการหนี้ภาคครัวเรือนของเกษตรกร ตามนโยบายกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือตอนบน”. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2553.
ชญาณี ชวะโนทย์ และสฤณี อาชวานันทกุล. “พฤติกรรมและสถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนที่ปัญหาหนี้สิน”. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิชีวิตไท (Local Act) ภายใต้โครงการพัฒนาต้นแบบการปรับตัวของชาวนาที่มีปัญหาหนี้สิน สู่การผลิตอาหารที่ยั่งยืน เพื่อวิถีชีวิตสุขภาวะ, 2562.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กลุ่มงานวิเคราะห์และพยากรณ์สถิติเชิงเศรษฐกิจ. รายงานเชิงวิเคราะห์ เรื่อง พฤติกรรมการเป็นหนี้ของครัวเรือนเกษตรกร พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2555.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. หนี้สินครัวเรือน : ผลกระทบระดับประเทศ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://service.nso.go.th/nso/web/article/article_61.html [17 มกราคม 2563].
อารีวรรณ คูสันเทียะ. หนี้สินเกษตรกร ควรแก้จากจุดไหน วินัยทางการเงินหรือปัญหาเชิงโครงสร้าง. มูลนิธิชีวิตไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.landactionthai.org/ menu-debt/item/2380-2019-06-09-06-31-51.html [17 มกราคม 2562].