ปรากฏการณ์ทางความเชื่อของคนไทยในยุคปัจจุบัน

Main Article Content

พระชลญาณมุนี ธมฺมโภชฺโช

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่อง “ปรากฏการณ์ทางความเชื่อของคนไทยในยุคปัจจุบัน” พบว่าปรากฏการณ์ทางความเชื่อที่เกี่ยวกับศาสนาของคนไทยที่มีรากฐานมาจากเชื่อผี เชื่อบรรพบุรุษ เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อเทพเจ้า นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ การผสมผสานความเชื่อโดยขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการของความเชื่อทำให้ความเชื่อต่อศาสนาเคลื่อนออกห่างจากหลักความเชื่อตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ส่งผลให้เกิดความงมงายเชื่อทุกอย่างที่พึ่งพาหาประโยชน์ได้ บางครั้งก็ตกเป็นเครื่องมือของความเชื่อ เพราะเป็นความเชื่อที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ส่วนกระบวนการเกิดความเชื่อในพระพุทธศาสนาสามารถจำแนกได้ 3 ระดับ เรียงโดยลำดับได้ดังนี้ (1) ระดับการเข้าสู่ความเชื่อในเบื้องต้นโดยใช้หลักโยนิโสมนสิการชี้วัดข้อเท็จจริงมีปรากฏในพระพุทธศาสนา (2) ระดับการใช้เหตุผลโดยใช้หลักตรรกะชี้วัดข้อเท็จจริงมีปรากฏในอริยสัจจ์ 4 และ (3) ระดับปัญญาโดยใช้หลักไตรสิกขาฝึกอบรมพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องมีปรากฏในความเชื่อ 4 ดังนั้นปรากฏการณ์ความเชื่อของคนไทยจำแนกตามความเชื่อได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ ความเชื่อในการรักษาโรค ความเชื่อในความสุข ความเชื่อในด้านความรัก และความเชื่อเรื่องของกรรม สามารถนำมาวิเคราะห์ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ได้ดังนี้ ด้านการรักษาโรคใช้หลักอริยสัจจ์ 4 ด้านความสุขใช้หลักสุขของคฤหัสถ์ สุขของบรรพชิต ด้านความรักใช้หลักสมชีวิธรรม 4 ฆราวาสธรรม 4 พรหมวิหารธรรม 4 กรรมใช้หลักความเชื่อ 4 ที่ปรากฏการณ์ทางความเชื่อของคนไทยในยุคปัจจุบันนั้นเอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กัญญ์ฐิตา ศรีภา. “การวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความในวิชาชีพพยาบาล”. พยาบาลตำรวจ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2555 : 6-7.

เจษฎา ทองรุ่งโรจน์. พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: โสภณการพิมพ์, 2557.

เดือน คำดี. ศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2531.

ทวี ผลสมภพ. ปรัชญาศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2555.

ลักษณวัต ปาละรัตน์. ญาณวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2558.

วินัย ไชยทอง และกิตติเชษฐ สมใจ. มรดกไทย. กรุงเทพมหานคร: เจ้าพระยาระบบการพิมพ์, 2547

สนิท สมัครการ. ความเชื่อและศาสนาในสังคมไทย วิเคราะห์เชิงสังคม-มานุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2539.

เสาวลักษณ์ อนันตศานต์ และสุภัทรา บุญปัญญาโรจน์. คติชนกับศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2558.

อัญญา ปลดเปลื้อง. “การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปรากฏการณ์วิทยา”. Nursing journal of the Ministry of Public Health. ปีที่ 2 เล่มที่ 23 พฤษภาคม-สิงหาคม 2556 : 3.

อารี ถาวรเศรษฐ์. คติชนวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ก็อปปี้ แอนด์ พริ้นท์, 2546

Kaoded. บูชาพระแม่โพสพ งานบุญเบิกฟ้ามหาสารคาม เสี่ยงทายคางไก่ปีนี้ไร่นาอุดมสมบูรณ์. 22 พฤศจิกายน 2562. https://www.77kaoded.com/content/312072.

Matichon. คณะหมอไสยศาสตร์ จากอำเภอทุ่งฝน อาสารักษาสาวอุดรธานีถูกล่ามโซ่นานนับ 10 ปี. 17 พฤษภาคม 2562. https://www.matichon.co.th/region/news_1371974.

MGR. วัดดังจัดโต๊ะจีน เลี้ยงผี เซ่นไหว้บรรพบุรุษ ชาวบ้านแห่ส่องหาเลขเด็ดไปเสี่ยงดวงคึกคัก. 22 พฤศจิกายน 2562. https://mgronline.com/local/detail/9620000093705.

Nation tv. ชาวไทยเชื้อสายเขมรทำพิธี “รำแม่มดถวายผีสางเทวดา” เชื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เจ็บป่วย. 22 พฤศจิกายน 2562. https://www.nationtv. tv/main/content/378633842.

Posttoday. ไทยนับถือพระเคณศมากที่สุดในสุวรรณภูมิ. 22 พฤศจิกายน 2562. https://www. Posttoday.com/dhamma/586153.

Siamrath. ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคในวันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ทั้งหมด 450 ลูก มากที่สุด ที่ อ. รัตนวาปี. 22 พฤศจิกายน 2562. https://www.siamrath.co.th/news/108793.

Thairath. จับเณรแอร์ หื่น-ทำเสน่ห์. 22 มกราคม 2563. https://www.thairath.co.th/news/

. ลูกศิษย์นับหมื่นแห่งานครอบครู อาจารย์หนู กันภัย. 17 พฤษภาคม 2562. https://www.thairath.co.th/content/342702.

. แห่บูชาน้ำผุดใต้ต้นลำไย เชื่อป่วยไข้ดื่มกินทารักษาโรคหายขาด. 17 พฤษภาคม 2562. https://www.thairath.co.th/news/local/north/159o576.

. อัศจรรย์พระเกจิดังเมืองไทยมรณภาพ สรีระร่างไม่เน่า เผาไม่ไหม้. 22 พฤศจิกายน 2562. https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1478865